วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

สื่อการเรียนรู้ที่กระตุ้นความจำ โดยโปรแกรม Microsoft PowerPoint

           โปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 เป็นโปรแกรมหนึ่งในตระกูล Microsoft Office เหมาะสำหรับการจัดสร้างงานนำเสนอข้อมูล (Presentation) สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในงานได้หลายประเภท เช่น การนำเสนอข้อมูลสินค้าและบริการ การจัดทำ Slide Show การออกแบบแผ่นพับ เป็นต้น
หลักการทำงานของ PowerPoint
          สำหรับ หลักการทำงานของ Presentation ที่สร้างจาก PowerPoint จะสร้างออกเป็น slide ย่อยๆ แต่ละ slide สามารถใส่ข้อมูล รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว หรือเสียง เพื่อสร้างความน่าสนใจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้เรายังสามารถกำหนดให้ Presentation ของเรา นำเสนอออกมาแบบในรูปแบบอัตโนมัติได้โดยไม่จำเป็นต้องมีการกดเลือกให้แสดงทีละ slide
          ก่อนเริ่มต้นสร้าง Presentation ควรกำหนดรูปแบบของ Presentation ของเราก่อนว่า ต้องการให้แสดงออกในรูปแบบใด เช่น ต้องการให้ส่วนด้านบน แสดงเป็นชื่อหัวข้อ ด้านล่างเป็นชื่อบริษัท และฉากหลังให้แสดงเป็นสีน้ำเงิน เป็นต้น แต่ถ้ายังคิดไม่ออก สามารถเลือกรูปแบบจาก ตัวอย่าง Themes (เวอร์ชั่นเก่าเรียกว่า Template) ที่โปรแกรมมีไว้ให้ได้ เช่นเดียวกัน

สรุปความสามารถพื้นฐานของ PowerPoint 2007
1.       สำหรับนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของ ข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
2.       สามารถตกแต่งตัวอักษรให้สวยๆ ด้วย? WordArt ที่พิเศษกว่า PowerPoint 2003?
3.       การทำงานจะแบ่งออกเป็นหน้าๆ แต่ละหน้าเรียกว่า Slide (คลิกแท็ปเมนู Home เลือก New Slide)
4.       การสร้างจะมี Slide Layout ช่วยในการออกแบบและใส่ข้อมูล? (คลิกแท็ปเมนู Home เลือก Layout)
5.       รูปแบบหรือ Themes จะมี Design สำหรับรูป ช่วยให้สร้าง Presentation ได้สะดวกมากขึ้น (คลิกแท็ปเมนู Design)
6.       รองรับไฟล์ข้อมูลประเภทต่างๆ เช่น ตารางจาก Microsoft Excel เป็นต้น
7.       รองรับภาพเคลื่อนไหวเช่น? Flash, Gif Animation, Video เป็นต้น
8.       สามารถสั่งรันแบบอัตโนมัติได้
9.       สามารถสั่งพิมพ์ในรูปแบบต่างๆ เช่น พิมพ์แบบ Slide, Handout เป็นต้น
10.   ไฟล์ที่จะสร้างจาก Powerpoint 2007 มีนามสกุล .PPTX ถ้าเป็นเวอร์ชั่นเก่า จะมีนามสกุล .PPT
11.   ถ้าไฟล์ที่สร้างเป็นไฟล์ .PPSX จะสามารถรับ Presentation แบบอัตโนมัติได้
https://sites.google.com/site/porkaermpowerpoint/1

          โปรแกรม Microsoft PowerPoint เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการจัดทำสไลด์เพื่อนำไปเสนอหรือฉายให้บุคคลทั่วไปได้ดู ในปัจจุบันโปรแกรม PowerPoint ได้เข้ามามีบทบาทกับการนำเสนอเป็นอย่างมากไม่ว่าจะใช้นำเสนองาน การประชุม สัมมนา ตลอดจนถึงแวดวงการศึกษาก็นำมาใช้อย่างแพร่หลาย เช่น อาจารย์ใช้เป็นสื่อช่วยสอน นักศึกษาใช้สำหรับนำเสนองานกับอาจารย์ เป็นต้น
         จุดเด่นของโปรแกรม PowerPoint ก็คือสามารถสร้างงานที่จะนำเสนอได้อย่างง่ายดาย สามารถใส่ภาพ เสียง ตลอดจนภาพเคลื่อนไหวในลักษณะวิดีโอลงในสไลด์ จึงเป็นสื่อที่นำเสนอข้อมูลได้แบบมัลติมีเดีย ทำให้งานนำเสนอด้วย โปรแกรม Microsoft PowerPoint ของคุณน่าชม น่าฟัง และมีความน่าสนใจมากขึ้น
ส่วนประกอบของโปรแกรม PowerPoint
          พื้นที่การทำงานหลักของ PowerPoint จะมีองค์ประกอบต่างๆ เช่น พื้นที่การสร้างสไลด์ เครื่องมือสร้าง/แก้ไข และส่วนประกอบอื่นๆ ดังนี้
1.       ปุ่ม Microsoft Office Button : ใช้สำหรับเรียกเมนูการใช้งานพื้นฐานของโปรแกรม
2.       แถบ Quick Access Toolbar : แถบคำสั่งด่วน เก็บปุ่มคำสั่งที่ใช้งานบ่อยๆ เอาไว้
3.       แถบ Title bar : แสดงชื่อโปรแกรม และชื่อไฟล์งานนำเสนอที่ทำงานอยู่
4.       แท็บ Contextual tabs : แท็บคำสั่งพิเศษที่จะแสดงเมื่อมีการใช้คำสั่งบางอย่าง เช่น แทรกภาพ หรือตาราง เป็นต้น
5.       แถบ Ribbon : แสดงแท็บคำสั่งที่แบ่งเป็นกลุ่มๆ เช่น Home, Insert ฯลฯ
6.       แถบ Status bar : แถบแสดงสถานะการทำงานต่างๆ เช่น จำนวนสไลด์, ชื่อเทมเพลต, ภาษาของแป้นพิมพ์, ปุ่มเปลี่ยนมุมมองสไลด์ และเปอร์เซ็นต์การปรับย่อ-ขยายมุมมอง เป็นต้http://powerpointbook.blogspot.com/2011/12/1-powerpoint.html

ความแตกต่างระหว่าง PowerPoint 2003 กับ PowerPoint 2007

ริบบอนมีลักษณะคล้ายกับทูลบาร์ ที่เราคุ้นเคยกันดีใน PowerPoint 2003 ซึ่งเป็นแหล่งที่ใช้
สา หรับรวบรวมแท็บเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทา งานมากขึ้น โดยดึงเอาความสามารถออกมาจากเมนูคำสั่งที่ซ้อนๆกันอยู่จากเวอร์ชั่นเดิม ให้แสดงอยู่ในรูปแบบของปุ่มเครื่องมือต่างๆ เพื่อให้เห็นชัดเจนและคลิกใช้งานได้ทันที
                   PowerPoint XP
                   PowerPoint 2007

กฎในการออกแบบหน้าสไลด์
          ในการสร้างสไลด์ในแต่ละหน้านั้น ผู้ใช้ควรมีกฎที่เป็นแนวทางในการสร้างงานนา เสนอก่อน
เพื่อไม่ให้เกิดความสับสน โดยสรุปได้ดังนี้
          1. ในแต่ละสไลด์ควรมีหัวเรื่องเพื่อบอกถึงสิ่งที่จะอธิบาย
          2. ตัวอักษรควรใช้ขนาดใหญ่ เพื่อให้ผู้รับฟังและรับชมสามารถมองเห็นอย่างชัดเจน
          3. ควรใช้คา สั้นๆ ที่อ่านเข้าใจง่าย เพื่อให้เกิดความน่าสนใจและน่าติดตาม
          4. หัวข้อของเนื้อหาไม่ควรเกิน 8 บรรทัดในหนึ่งสไลด์ เพราะถ้ามีมากเกินไปจะส่งผลทำให้
สื่อได้ไม่ชัดเจน
          5. ไม่ควรนา ภาพมาเป็นพื้นหลัง (Background) เพื่อจะทา ให้อ่านยาก
          6. การใส่รูปภาพลงในสไลด์ควรใช้ขนาดพอสมควรไม่ใหญ่เกินไป

การสร้าง Presentation ใหม่ จาก Template
          สำหรับการเริ่มสร้างงานพรีเซนต์ใหม่จาก PowerPoint 2007 จะช่วยให้คุณสามารถสร้างงาน
ได้อย่างรวดเร็วขึ้นจาก Template1 หรือแม่แบบสไลด์สำเร็จรูปที่มีให้เลือกมากมาย โดยที่คุณไม่จำเป็นต้องเริ่มออกแบบงานใหม่ทุกครั้งและยังสามารถดาว์นโหลดแม่แบบเพิ่มเติมผ่านทางเว็บไซต์ Microsoft.comได้อีกด้วย

วิธีการสร้างงานใหม่
          เมื่อคลิกสัญลักษณ์ เลือก New เลือก Installed Themes ที่ชอบแล้วคลิกปุ่ม Create

การเปิดโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007
          1. คลิก Start Menu
          2. คลิกเลือก Program
          3. คลิก Microsoft Office
          4. คลิกเลือก Microsoft PowerPoint 2007
          5. ปรากฏหน้าจอโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007

การสไลด์แผ่นใหม่
          การสร้างสไลด์ใหม่ในโปรแกรม Microsoft PowerPoint 2007 จะสร้างสไลด์ที่ไม่มีข้อความ
หรือรูปภาพใดๆ อยู่ในเอกสาร ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
          1. คลิกปุ่ม (Office)
          2. คลิกเลือกงานนำเสนอเปล่า

การพิมพ์ข้อความลงในสไลด์
                เมื่อเปิดหน้าสไลด์แล้วจะพบว่า มีพื้นที่สีขาวสำหรับพิมพ์ข้อความลงไป โดยการเริ่มต้นพิมพ์
ข้อความลงในสไลด์ มีขั้นตอนดังนี้
          1. คลิกให้ปรากฏเส้นเคอร์เซอร์ ตรงบริเวณกรอบที่ต้องการพิมพ์ตัวอักษร
          2. พิมพ์ข้อความตามต้องการ เมื่อพิมพ์ข้อความจนสุดบรรทัด โปรแกรมจะขึ้นบรรทัดใหม่
ให้โดยอัตโนมัติ (หากต้องการลบข้อความหรือคำผิดให้แดรกเมาส์เลือกข้อความ จากนั้นกดปุ่ม
<Backspace> ที่คีย์บอร์ด)

การจัดข้อความให้สวย
          1. คลิกข้อความที่จะจัด
          2. คลิกรูปแบบ
          3. คลิกเลือกเครื่องมือที่ Ribbon โดยจัดตามต้องการ

เทคนิคการทา Presentation
          การเลือกใช้ข้อความที่มีขนาดเหมาะสม ช่วยให้การนาเสนอมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นในการสื่อให้ผู้ที่มารับข้อมูลเข้าใจ โดยมีหลักการดังนี้
          1. ตัวอักษรต้องอ่านง่าย โดยปกติตัวอักษรควรมีขนาดตั้งแต่ 36-60 Point และควรเป็น
ตัวหนา เพื่อจะสื่อได้ชัดเจนมากขึ้น
          2. ในหนึ่งสไลด์ไม่ควรใช้แบบตัวอักษรเกิน 2 ประเภท เพื่อความสวยงาม

การเลือกสีในการออกแบบ สีนับว่าเป็นความสำคัญของการออกแบบหน้าจอ  เนื่องจากผู้ใช้
ต้องใช้สายตาดูจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานถ้าใช้สีร้อนอาจทำให้เกิดความระคายเคืองได้
การออกแบบตัวหนังสือ
          Microsoft PowerPoint 2007 ยังมีเครื่องมือที่จะช่วยให้งานพรีเซนต์ของคุณเป็นมืออาชีพได้
ง่ายๆ ด้วยการออกแบบสำเร็จรูปที่พร้อมให้เลือกอย่างจุใจ เช่น การออกแบบพื้นหลังสไลด์ด้วย Themes
Design การปรับแต่งข้อความศิลป์ ด้วย WordArt Style รวมทั้งการเลือกสีสันตามใจชอบด้วย Themes
Color
          1. เลือกข้อความที่ต้องการเปลี่ยน
          2. คลิกปุ่ม Insert เลือก

วิธีการใส่ Effect ให้กับตัวอักษร
          1. คลิกเลือกคลุมข้อความที่เป็นตัวอักษร
          2. คลิกเมนูแท็ป Format ด้านบน
          3. คลิกเลือกปรับแต่งข้อมูลในหัวข้อ WordArt Styles

ทิป แทป็ Format จะแสดงต่อเมื่อเรามีการคลิกเลือกข้อความที่สามารถปรับแต่งรูปแบบได้ เท่านั้น
สำหรับผู้ที่ต้องการปรับแต่งพื้นหลังของตัวอักษรให้มีความโดดเด่น หรือสร้างเป็นปุ่มข้อความ
โดยใช้ Themes Color เป็นตัวกำหนด
          1. เลือกกรอบข้อความ
          2. คลิกแท็บ Format

การเลือกพื้นหลังสไลด์
                สำหรับบางท่านที่ต้องการความโดดเด่นพื้นหลังของงานพรีเซนต์ ซึ่งถือเป็นปัจจัยแรกที่ส่งผล
กับการออกแบบและผู้รับข้อมูลโดยตรง เพราะถ้าพื้นหลังไม่ดีจะทำให้ดูแล้วไม่สบายตา สามารถเลือกพื้น
หลัง Themes Design ได้เองอย่างง่าย ดังนี้
          1. เลือกกรอบข้อความ
          2. คลิกแท็บ Design

การแทรกรูปภาพเข้ามาใหม่
          1. คลิกแท็กแทรก (Insert)
          2. คลิกปุ่มเพื่อเลือกรูปภาพที่จะนำมาใส่ในสไลด์
          3. จะปรากฏหน้าต่างแทรกรูปภาพขึ้นมาให้เลือกโฟล์เดอร์ที่เก็บไฟล์ภาพ
          4. คลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการ
          5. คลิกปุ่มแทรก (Insert) เพื่อแทรกรูปในสไลด์

การปรับแต่งกราฟิกให้สวยงาม
          สำหรับผู้ที่ไม่ถนัดการออกแบบศิลปะ Microsoft PowerPoint ก็ได้ออกแบบโปรแกรมให้มี
เครื่องมือที่ใช้สำหรับแต่งภาพขึ้นมาด้วย ในชื่อเครื่องมือ Picture Styles ซึ่งเพียงเราเลือกรูปแบบที่ต้องการ
ภาพก็จะถูกปรับแต่งออกมาสวยงามน่ามอง การเลือกใช้ภาพประกอบ เป็นการเสริมให้สไลด์ดูน่าสนใจยิ่งขึ้น แต่ถ้ามีมากเกินไปจะทำให้เกิดความสับสนกับข้อมูลที่นำเสนอได้   ดังนั้นจึงมีวิธีการในการเลือกใช้ภาพให้เหมาะสม ดังนี้
          1. ภาพที่นำมาใช้ต้องส่งเสริมข้อความที่นำเสนอ
          2. ไม่ควรมีอักษรในภาพถ้าไม่จำเป็น
          3. ภาพที่นำมาใช้ไม่ควรใช้ไฟล์ที่มีขนาดใหญ่มาก เพราะจะทำให้โปรแกรมทำงานหนักขึ้น

การกำหนด Effect การเปลี่ยนสไลด์
                การสร้างสร้างสไลด์จะมีลักษณะเหมือนการเปลี่ยนหน้าหนังสือ ซึ่งดูแล้วไม่น่าสนใจ ซึ่งเรา
ควรที่จะเพิ่มลูกเล่น (Effects) เข้าไป
          1. คลิกหน้าสไลด์ที่จะใส่ Effect
          2. คลิกแท็บภาพเคลื่อนไหว (Animation)
          3. คลิกเลือกรูปแบบ Effects ที่ต้องการ (ซึ่งจะมีตัวอย่างของเอฟเฟ็กต์แสดงขึ้นมาให้ดูด้วย
ระหว่างที่เลือก)
          4. จะแสดงตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงให้เห็น

สร้างภาพเคลื่อนไหวแบบตามใจ ใน PowerPoint 2007
             ความสามารถอีกอย่างหนึ่งของ PowerPoint ทุกๆ เวอร์ชั่น ก็คือการสร้าง Animation หรือทำให้
ภาพของเราที่แสดง บน PowerPoint สามารถเคลื่อนไหวได้ ซึ่งคา สั่งเหล่านี้ จะอยู่ในหัวข้อ "Custom
Animation" ถ้าเป็นเวอร์ชั่นเก่าๆ ที่ต่ำกว่า PowerPoint 2007 ส่วนใหญ่เราสามารถเรียกใช้คา สั่งนี้ได้ดังนี้ คือ  คลิกขวาที่รูปภาพที่ต้องการทา Animation จากนั้นคลิก Custom Animation แต่สำหรับ PowerPoint 2007 จะต่างกันมาก เนื่องจาก Microsoft มีการเปลี่ยนโฉมหน้าทั้งหมด คำสั่งต่างๆ จึงต้องเรียนรู้ใหม่อีกครั้งว่าเก็บอยู่ในหัวข้อไหนอย่างไรก็ตามวันนี้จะแนะนา การสร้างภาพ เคลื่อนไหว ไปตามเส้นทางที่เราต้องการ (เราเรียกว่า Motion Paths) เช่น ภาพจะเลื่อนจากจุด A ไปยังจุด B เป็นต้น ซึ่งเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่คนส่วนใหญ่มักไม่ค่อยรู้จักหรือไม่ค่อนเข้าใจกัน

วิธีการสร้าง Animation ใน PowerPoint 2007
          1. คลิกเลือกรูปภาพที่ต้องการ
          2. คลิกแท็ป Animations
          3. คลิก Custom Animation ด้านล่างของแท็ป Animations
          4. จะเห็นหน้าต่างคา สั่ง Custom Animation ด้านขวามือ
          5. คลิก Add Effect เลือก Motion Paths
          6. คลิกเลือก Draw Custom Paths
          7. เลือกหัวข้อ Scribble ลูกศรหรือเคอร์เซอร์ จะเปลี่ยนเป็นรูปดินสอ
          8. ให้เขียนเส้นลากไปตามทางที่ต้องการ (ให้จิตนาการว่า จะให้ภาพวิ่งไปในแนวทางใด)
          9. จากนั้นปล่อยเมาส์ ที่คลิกค้างไว้
          10. โปรแกรมจะแสดงภาพเคลื่อนไหวไปตามเส้นทางที่เราวาด

การออกแบบไดอะแกรม
                สำหรับงานที่จำเป็นต้องสร้างไดอะแกรมหรือผังองค์กรแล้ว Smart Art จะช่วยให้เราทำงานได้
อย่างไม่ยากเย็น ทั้งยังช่วยให้มีความสวยงามมากขึ้นอีกด้วย เพราะภายในชุดตัวเลือกนี้จะมีรูปแบบของ
ไดอะแกรมให้เลือกมากมายรองรับกับงานทุกประเภท

การนาเสนอสไลด์
                หลังจากที่ได้สร้างสไลด์กันไปแล้ว ก่อนจะจบขั้นตอนผู้สร้างควรทดลองดูว่ามีข้อผิดพลาด
อะไรบ้าง ก่อนการนาเสนอจริง
          1. คลิกแท็บ View เพื่อนาเสนอภาพนิ่ง (Slide Show)
          2. คลิกปุ่ม Slideshow ให้ทา การพรีเซนต์ตั้งแต่ต้นเพื่อเริ่มแสดงการฉายสไลด์ตั้งแต่สไลด์แรก
          3. สไลด์จะปรากฏเต็มจอคอมพิวเตอร์
          4. กดปุ่ม Enter ที่คีย์บอร์ด โปรแกรมจะเปลี่ยนหน้าสไลด์ทีละหน้า
          5. เมื่อสิ้นสุดจะปรากฏหน้าจบการนาเสนอภาพนิ่ง
          6. กดปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ดอีกครั้ง ก็จะกลับเข้าสู่หน้าโปรแกรมหลัก (หากในระหว่างการ
พรีเซนต์ต้องการออกสู่หน้าโปรแกรมหลักทันที่ให้กดปุ่ม <Esc> บนคีย์บอร์ด)

การบันทึกไฟล์ PowerPoint
                จากขั้นตอนสร้างงาน Presentation พร้อมทั้งทดลองตรวจสอนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอน
สุดท้ายคือ การบันทึกไฟล์ PowerPoint ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกใช้งานในครั้งต่อไป ซึ่งการ
บันทึกไฟล์ PowerPoint มีขั้นตอนดังนี้
          1. คลิกปุ่ม (Office)
          2. คลิกบันทึก
          3. เลือกตำแหน่งที่ใช้ในการเก็บเอกสารในช่องบันทึกใน (Save in)
          4. ตั้งชื่อเอกสารในช่องชื่อแฟ้ม (File name) ในตัวอย่างผู้เขียนใช้ทัศนคติที่ดีในการทำงาน
          5. คลิกปุ่มบันทึก เพื่อยืนยันการบันทึก
          6. ปรากฏชื่อไฟล์ที่บันทึกบนแท็บชื่อหัวเรื่อง (Titlebar)

การสั่งพิมพ์ใน PowerPoint 2007
                โดยปกติแล้วไม่ว่าโปรแกรมอะไรในตระกูล Microsoft Office เราสามารถสั่งพิมพ์โดยตรง ได้
จากเมนู File เลือกคา สั่ง Print แต่ถ้าเป็น Office 2007 จะต้องคลิกปุ่ม Office Button และเลือก Print ได้เลย แต่สำหรับโปรแกรม PowerPoint มีความสามารถพิเศษเกี่ยวกับเรื่องการพิมพ์อยู่บางอย่าง

พิมพ์แบบ Handouts คืออะไร
                โดยปกติเวลาสั่งพิมพ์ใน PowerPoint จะได้หน้าตาเหมือนที่เห็นบนหน้าจอ presentation แต่ถ้าเราต้องการพิมพ์ เพื่อใช้เป็นเอกสารและมีพื้นที่ ในเอกสารให้สามารถจดข้อความเพิ่มเติมได้ด้วยหรือที่
PowerPoint เรียกว่า "Handouts" เราก็สามารถทา ได้ด้วยเช่นกัน ? และถ้าเราเลือก 3 Slide ต่อหนึ่งหน้า จะมีพื้นที่ด้านขวามือเหลือให้เราไว้จดอีกด้วยเลือกพิมพ์ Slide มากกว่า 1 Slide ในแต่ละหน้า ในคา สั่ง Handouts เราสามารถเลือกจำนวน Slide ต่อหน้าได้หลายแบบ เช่น 1,3,4,6 และ 9 เป็นต้น

วิธีสั่งพิมพ์แบบ Handouts
          1. คลิกเมนู Print
          2. ในหัวข้อ Print What ให้คลิกเลือก Handouts
          3. ในหัวข้อ Handouts ในช่อง Slides per page ให้เลือกจา นวน Slide ตามต้องการ
          4. คลิก OK เพื่อสั่งพิมพ์ได้เลย ลองทดสอบกันดูเลยค่ะ แถมวิธีนี้ยังช่วยประหยัดกระดาษได้อีกมากเลย คุ้มจริงๆ

ลดขนาดไฟล์ให้จิ๋วใน PowerPoint 2007 ในพริบตา
          ถ้าคุณเป็นผู้หนึ่งที่มักต้องสร้างไฟล์ Presentation ด้วย PowerPoint คุณอาจเคยประสบปัญหา
เกี่ยวกับขนาดไฟล์ที่มักมีขนาดใหญ่ผิดปกติ บางครั้งแค่สร้างไฟล์ Presentation เพียงหน้าเดียว ก็มีขนาด
หลาย MB เลยทีเดียว คุณทราบหรือไม่ว่า สาเหตุหลักของปัญหานี้อยู่ที่ไฟล์ รูปภาพ หรือ Photos ที่ถ่ายจาก
กล้องดิจิตอลที่มีความละเอียดสูง ๆ และแน่นอนเรามีคา ตอบที่จะแก้ไขปัญหานี้มาให้พร้อมเสร็จสรรพ..

ลดขนาดไฟล์ Presentation ด้วย PowerPoint 2007
                เราสามารถลดขนาดไฟล์ใหญ่ๆ ของ PowerPoint เวอร์ชั่นเก่าๆ ได้ รวมทั้งเวอร์ชั่น 2007
ด้วยกัน ก็สามารถลด ขนาดไฟล์ของรูปภาพได้ง่ายๆ เพียงแค่ใช้คำสั่งพิเศษที่ซ่อนอยู่ใน PowerPoint 2007
ซึ่งโปรแกรม PowerPoint 2007 จะทา การลดขนาดไฟล์รูปภาพที่อยู่ใน presentation แบบอัตโนมัติ สา หรับขั้นตอนการทา มีดังนี้
          1. เปิดไฟล์ presentation เวอร์ชั่นใดๆ ด้วย PowerPoint 2007
          2. คลิกเมนู Save As
          3. คลิกเลือกปุ่ม Tools ที่ด้านล่างซ้ายมือ
          4. เลือกคา สั่ง "Compress Pictures"
          5. คลิกปุ่ม Options จากนั้น ในบรรทัด Target Output คลิกเลือก
                   - Print (220 ppi) สา หรับงานที่ต้องการพิมพ์คุณภาพสูงๆ? (ปกติไม่จา เป็น)
                   - Screen (150 ppi) สาหรับงานที่ต้องการแสดงบนเว็บ                                    
                   - E-mail (96 ppi) สา หรบงานที่ต้องการส่งผ่านเมล์? (แนะนา ให้ใช้หัวข้อนี้)
          6. คลิกปุ่ม OK สองครั้ง
          7. คลิกปุ่ม Save เพื่อบันทึกตรวจสอบไฟล์ที่บันทึกใหม่ จะเห็นได้ว่าไฟล์มีขนาดเล็กลงอย่างเห็นได้ชัด ไม่เชื่อต้องพิสูจน์ค่ะ..
          ข้อควรทราบ คุณสามารถนำไฟล์ที่สร้างจาก PowerPoint รุ่นที่ต่ำกว่ามาเปิดใน Microsoft
PowerPoint 2007

สร้างปุ่มเมนูบนเว็บด้วย PowerPoint 2007
                สำหรับเว็บมาสเตอร์มือใหม่ทุกท่าน ถ้าคุณต้องการสร้างปุ่มเมนู สีสันสวยๆ บนเว็บ เรา
สามารถสร้างจาก Microsoft PowerPoint 2007 ได้ง่ายๆ พูดจริงค่ะ เราสามารถ สร้างปุ่มเมนูสวยๆ ได้อย่าง
ง่ายมากๆ ด้วย PowerPoint 2007 ไม่เชื่อก็ต้องท้าพิสูจน์เช่นเคย
          1. เปิดโปรแกรม PowerPoint 2007
          2. เปิดหน้าสไลด์ว่างๆ
          3. คลิกเมนู Insert
          4. เลือกคำสั่ง Shapes และเลือกรูปแบบของเมนูที่ต้องการ
          5. จากตัวอย่างเลือก สี่เหลี่ยมมุมขอบมน
          6. คลิกและลากเพื่อสร้างรูปสี่เหลี่ยม
          7. ดับเบิลคลิกรูปภาพที่สร้าง เมนูด้านบนจะเปลี่ยนไปคา สั่ง Format
          8. ในช่อง Shapes Styles
          9. ให้เลือกสีสัน และรูปแบบที่ต้องการ
          10. หลังจากเลือกจะพบว่ารูปสี่เหลี่ยมที่สร้างขึ้น จะเปลี่ยนรูปแบบ และสีตามที่เราเลือก
          11. คลิกขวาที่รูปภาพที่สร้างเลือกคา สั่ง Save as Pictures กำหนดประเภทของไฟล์รูปภาพที่ต้องการ เช่น JPG, GIF, PNG เป็นต้น (แค่นี้ก็จะได้ไฟล์รูปภาพที่เราสร้าง พร้อมใช้งานบนเว็บแล้ว)
          12. สร้างปุ่มเมนูต่อไป ตามจำนวนที่ต้องการ
                จะเห็นว่า ไฟล์เมนูภาพที่สร้างขึ้น จะถูกเก็บไว้ในรูปแบบไฟล์ภาพที่ต้องการ สามารถนา ไปใช้
งานได้ทันที (สา หรับไฟล์รูปภาพที่นา ไปขึ้นเว็บ แนะนา ให้บันทึกเป็น .gif, .png หรือ .jpg เท่านั้น
สา หรับเพื่อนๆ อีกหลายๆ คนที่ต้องการมีเว็บไซต์เป็นของตัวเอง เพื่อทา การค้าขาย
บนอินเตอร์เน็ต หรือต้องการหารายได้พิเศษจากอินเตอร์เน็ตในรูปแบบต่างๆ ? หลายๆ คนท้อที่จะมีเว็บเป็นของตนเอง เพราะไม่ทราบรายละเอียดว่าจะต้องทา อย่างไรบ้าง แถมบางคนกลัวว่าจะทา ไม่ได้ เพราะไม่มีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เลยวันนี้มีคา แนะนา มาบอกกัน เพื่อให้ทราบว่า เว็บไซต์ทาง่าย ทา ด้ทุกคนเพียงคุณแค่ใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็น และมีความรู้พื้นฐานคอมพิวเตอร์สักนิด

ที่มา... http://www.ictc.ago.go.th/download53/train_book3.pdf



วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สื่อและนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์

สื่อการสอนคณิตศาสตร์

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอน
 คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
ยุพิน พิพิธกุล(2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ
2.อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่น
โปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
4.สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น

แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1 ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ
นวัตกรรม
นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovateแปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่านวัตกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำหมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรม ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา(Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรม ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา(boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการ ทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
นวัตกรรม คือ อะไร
เดี๋ยว นี้ไปไหนมาไหน ก็ได้ยินแต่คนพูดถึงนวัตกรรม จนกลายไปเป็นคำศัพท์ทางการตลาดไปแล้ว แล้วจริงๆ ไอ้เจ้า นวัตกรรม ที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation คืออะไร และมีที่มาอย่างไร ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้
1. ธรรมชาติ คือ สิ่งต่างๆ รวมถึงปรากฏการณ์ที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่น ก้อนดิน ผืนน้ำ ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
2. วิทยาศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่อธิบายธรรมชาติ เช่น ทำไมฟ้าถึงผ่า ทำไมฝนถึงตก ทำไมลูกทุเรียนจึงตกดิน
3. เทคโนโลยี คือ การนำวิทยาศาสตร์ มาทำใช้ในทางปฏิบัติ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี หรือ เทคโนโลยี RFID
4. นวัตกรรม คือ การหยิบจับเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่า เช่น นำนาโนเทคโนโลยี ไปใส่ในเสื้อผ้า ทำให้แบคทีเรียไม่เกิดการเติบโต ทำให้ไม่เกิดกลิ่นเหม็นอับ หรือ การนำนาโนเทคโนโลยีไปใส่ในพลาสติก ทำให้พลาสติกเกิดรูพรุนขนาดเล็กสำหรับใช้กรองเชื้อโรค การนำนาโนเทคโนโลยีใส่ในกระจกทำให้ฝุ่นไม่เกาะกระจก จึงเป็นกระจกที่ไม่ต้องการทำความสะอาด
จะเห็นได้ว่า นวัตกรรม คือ การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์
นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา”(Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
 นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่หรือวิธีการใหม่ ที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา อันได้แก่ แนวคิด เทคนิค วิธีการกระบวน การ แนวปฏิบัติ หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนของครู และพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิผลตามเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งอาจพิจารณาได้ ดังนี้
1. เป็นสิ่งที่ใช้แล้วจากที่อื่น แต่นำมาใช้ใหม่ที่นี่
2. เป็นสิ่งที่เคยใช้มาแล้วจากที่อื่น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่
3. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่เพิ่งนำมาทดลองใช้
4. เป็นสิ่งที่ผลิต/สร้างขึ้นใหม่และทดลองใช้ที่นี่เป็นครั้งแรก
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. สื่อการเรียนการสอน อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวีซีดี บทเรียนซีดี
บทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนการ์ตูน แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ อาทิ วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมใจวิธีการสอน
แบบซิปปา (CIPPA Model) วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วิธีการสอนฝึกกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
3. หลักสูตรแบบต่างๆ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตร
วิชาชีพต่างๆ ฯลฯ
4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ อาทิ การบริหารเชิงระบบ การบริหารแบบธรรมาภิบาล
การบริหารการจัดการความรู้ การบริหารแบบกัลยาณมิตร การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ฯลฯ
นวัตกรรมทางการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวคิด หลักปฏิบัติ เครื่องมือหรือสิ่งใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการทดลองและพัฒนาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ แล้วนำมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
เทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า"วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่า นักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
คำว่า เทคโนโลยี มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็น เทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มของประชากร และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นปัจจัยด้านเหตุสำคัญในการนำ และพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับ เทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น (Why)เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนเป็นต้น
เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐาน ประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ย่อจาก information technology)หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)
เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการ
ศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่นการใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในสำนัก งาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แสดงว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เพื่อการคำนวณและเก็บข้อมูลได้แพร่ไปทั่วทุกแห่ง เทคโนโลยีสาร สนเทศมี บทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท มีผลต่อการให้บริการขององค์การและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจในแต่ละวันก่อนการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ประชากรโลกส่วนใหญ่จะยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นแกนหลัก มีเพียงบางส่วนยึด อาชีพบริการและทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แต่เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม พลเมืองในชนบทเป็นจำนวนมากละทิ้ง ถิ่นฐานเดิมจากการทำไร่ไถนามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขยายตัวของประชากรในภาคอุตสาหกรรม และการลดน้อยลงในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ผู้ทำงานด้านบริการจะค่อย ๆ ขยับสูงขึ้นอย่างช้า ๆ พร้อม ๆ กับการมีผู้ทำงาน ด้านสารสนเทศ ที่ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นตลอดอย่างต่อเนื่อง