วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สื่อและนวัตกรรมทางคณิตศาสตร์

สื่อการสอนคณิตศาสตร์

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
สื่อการสอน
 คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
ยุพิน พิพิธกุล(2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
4.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
5.เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
6.การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
1.วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ
2.อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่น
โปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
4.สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น

แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
1.ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
2.ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1 ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
3.ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
4.การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
5.การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
6.ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ
นวัตกรรม
นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
คำว่า นวัตกรรม เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovateแปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่านวัตกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำหมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)
ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรม ว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา(Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน(Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรม ว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา(boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรม ไว้ ว่าหมายถึง วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการ ทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฏิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่า “แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
นวัตกรรม คือ อะไร
เดี๋ยว นี้ไปไหนมาไหน ก็ได้ยินแต่คนพูดถึงนวัตกรรม จนกลายไปเป็นคำศัพท์ทางการตลาดไปแล้ว แล้วจริงๆ ไอ้เจ้า นวัตกรรม ที่มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation คืออะไร และมีที่มาอย่างไร ซึ่งจะอธิบายได้ดังนี้
1. ธรรมชาติ คือ สิ่งต่างๆ รวมถึงปรากฏการณ์ที่อยู่รอบๆตัวเรา เช่น ก้อนดิน ผืนน้ำ ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า
2. วิทยาศาสตร์ คือ ศาสตร์ที่อธิบายธรรมชาติ เช่น ทำไมฟ้าถึงผ่า ทำไมฝนถึงตก ทำไมลูกทุเรียนจึงตกดิน
3. เทคโนโลยี คือ การนำวิทยาศาสตร์ มาทำใช้ในทางปฏิบัติ เช่น เทคโนโลยีชีวภาพ นาโนเทคโนโลยี หรือ เทคโนโลยี RFID
4. นวัตกรรม คือ การหยิบจับเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดคุณค่า และมูลค่า เช่น นำนาโนเทคโนโลยี ไปใส่ในเสื้อผ้า ทำให้แบคทีเรียไม่เกิดการเติบโต ทำให้ไม่เกิดกลิ่นเหม็นอับ หรือ การนำนาโนเทคโนโลยีไปใส่ในพลาสติก ทำให้พลาสติกเกิดรูพรุนขนาดเล็กสำหรับใช้กรองเชื้อโรค การนำนาโนเทคโนโลยีใส่ในกระจกทำให้ฝุ่นไม่เกาะกระจก จึงเป็นกระจกที่ไม่ต้องการทำความสะอาด
จะเห็นได้ว่า นวัตกรรม คือ การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์
นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมการศึกษา”(Educational Innovation )" หมายถึง นวัตกรรมที่จะช่วยให้การศึกษา และการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิผลสูงกว่าเดิม เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และประหยัดเวลาในการเรียนได้อีกด้วย ในปัจจุบันมีการใช้นวัตกรรมการศึกษามากมายหลายอย่าง ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว และประเภทที่กำลังเผยแพร่ เช่น การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Aids Instruction) การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ ( Hypermedia ) และอินเทอร์เน็ต [Internet] เหล่านี้ เป็นต้น (วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm)
นวัตกรรมทางการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
 นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง สิ่งใหม่หรือวิธีการใหม่ ที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา อันได้แก่ แนวคิด เทคนิค วิธีการกระบวน การ แนวปฏิบัติ หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหาการเรียนการสอนของครู และพัฒนาการเรียนรู้ให้มีประสิทธิผลตามเป้าหมายของหลักสูตร ซึ่งอาจพิจารณาได้ ดังนี้
1. เป็นสิ่งที่ใช้แล้วจากที่อื่น แต่นำมาใช้ใหม่ที่นี่
2. เป็นสิ่งที่เคยใช้มาแล้วจากที่อื่น แล้วนำมาปรับปรุงแก้ไขใหม่
3. เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วแต่เพิ่งนำมาทดลองใช้
4. เป็นสิ่งที่ผลิต/สร้างขึ้นใหม่และทดลองใช้ที่นี่เป็นครั้งแรก
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. สื่อการเรียนการสอน อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวีซีดี บทเรียนซีดี
บทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนการ์ตูน แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ อาทิ วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมใจวิธีการสอน
แบบซิปปา (CIPPA Model) วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วิธีการสอนฝึกกระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ ฯลฯ
3. หลักสูตรแบบต่างๆ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตร
วิชาชีพต่างๆ ฯลฯ
4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ อาทิ การบริหารเชิงระบบ การบริหารแบบธรรมาภิบาล
การบริหารการจัดการความรู้ การบริหารแบบกัลยาณมิตร การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ฯลฯ
นวัตกรรมทางการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวคิด หลักปฏิบัติ เครื่องมือหรือสิ่งใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการทดลองและพัฒนาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ แล้วนำมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
เทคโนโลยี
ความเจริญในด้านต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นผลมาจากการศึกษาค้นคว้าทดลองประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่างๆ โดยอาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เมื่อศึกษาค้นพบและทดลองใช้ได้ผลแล้ว ก็นำออกเผยแพร่ใช้ในกิจการด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า"วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า "เทคโนโลยี" (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยี หมายถึงการใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ผู้ที่นำเอาเทคโนโลยีมาใช้ เรียกว่า นักเทคโนโลยี (Technologist) (boonpan edt01.htm)
คำว่า เทคโนโลยี มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานาน เป็นสิ่งที่มนุษย์ใช้แก้ปัญหาพื้นฐาน ในการดำรงชีวิต เช่น การเพาะปลูก ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้ เป็น เทคโนโลยีพื้นฐานไม่สลับซับซ้อนเหมือนดังปัจจุบัน การเพิ่มของประชากร และข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมีการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศเป็นปัจจัยด้านเหตุสำคัญในการนำ และพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับประเทศตะวันตก ได้ศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์กับ เทคโนโลยี ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ โดยหลักสำคัญคือ ความรู้ทาง วิทยาศาสตร์คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น (Why)เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจนเป็นต้น
เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้ เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ
เทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐาน ประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (IT ย่อจาก information technology)หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่างๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
ในบางครั้งจะมีการใช้ชื่อว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)
เทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มาทำให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษย์ เทคโนโลยีจึงเป็นวิธีการในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสิ่งต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์และการสื่อสารโทรคมนาคมมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาการศึกษา ดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีส่วนช่วยเรื่องการเรียนรู้ ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ หลายด้าน มีระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) ระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสาร เช่น การค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้ใน World Wide Web เป็นต้น
2. เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการ
ศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผน การดำเนินการ การติดตามและประเมินผลซึ่งอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมเข้ามามีบทบาทที่สำคัญ
3. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการสื่อสารระหว่างบุคคล ในเกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยสื่อสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคล เช่น การสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน โดยใช้องค์ประกอบที่สำคัญช่วยสนับสนุนให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงาน เช่นการใช้โทรศัพท์ โทรสาร ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เทเลคอมเฟอเรนซ์ เป็นต้น
เทคโนโลยีสารสนเทศกำลังเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตประจำวัน สังเกตได้จากการนำคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ในสำนัก งาน การจัดทำระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ การใช้อุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ แสดงว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เพื่อการคำนวณและเก็บข้อมูลได้แพร่ไปทั่วทุกแห่ง เทคโนโลยีสาร สนเทศมี บทบาทสำคัญต่อการแข่งขันด้านธุรกิจและการขยายตัวของบริษัท มีผลต่อการให้บริการขององค์การและหน่วยงาน และมีผลต่อการประกอบกิจในแต่ละวันก่อนการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ประชากรโลกส่วนใหญ่จะยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นแกนหลัก มีเพียงบางส่วนยึด อาชีพบริการและทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม แต่เมื่อมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม พลเมืองในชนบทเป็นจำนวนมากละทิ้ง ถิ่นฐานเดิมจากการทำไร่ไถนามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการขยายตัวของประชากรในภาคอุตสาหกรรม และการลดน้อยลงในภาคเกษตรกรรม ขณะที่ผู้ทำงานด้านบริการจะค่อย ๆ ขยับสูงขึ้นอย่างช้า ๆ พร้อม ๆ กับการมีผู้ทำงาน ด้านสารสนเทศ ที่ค่อย ๆ เพิ่มสูงขึ้นตลอดอย่างต่อเนื่อง

การจําและการลืมของนักเรียนในการเรียนคณิตศาสตร์

      
การจําและการลืม   
          ปัจจุบันคณิตศาสตร์เป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการเรียนการศึกษาและการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งคณิตศาสตร์ถูกสอดแทรกไปกับสาขาวิชาต่างๆ เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่สำคัญทำให้การเรียนการสอนคณิตศาสตร์จึงมุ้งเน้นให้ผู้เรียนนั้นได้รับความรู้ทางคณิตศาสตร์และมีความสามารถทางคณิตศาสตร์ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ก็มีอยู่มากมายหลายประการ เช่น นักเรียนไม่ตั้งใจเรียน นักเรียนขาดพื้นฐาน ครูสอนอยากเกินไป เป็นต้น ทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งปัญหาอีกปัญหาหนึ่งที่หลายคนมองข้ามไปคือ การจำการลืมของนักเรียน นักเรียนแต่ละคนมีความจำที่ไม่เหมือนกันบางคนจำได้ดีแต่บางคนเรียนไปแล้วก็ลืม การลืมทำให้เกิดปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทำให้กิจกรรมไม่ต่อเนื่อง ครูผู้สอนต้องค่อยทบทวนทำให้เกิดการเสียเวลา การลืมของผู้เรียนก็จะทำให้ผู้เรียนกลายเป็นคนขาดพื้นฐาน บทความนี้จึงขอนำความรู้เกี่ยวกับการจำการลืมมาให้ผู้สนใจได้ศึกษาต่อไป

ความหมายของการจำ
ความหมายของการจํามีผูที่ใหความหมายไวหลายทานด้วยกัน ดังนี้
กมลรัตน์ หลาสุวงษ (2528) ใหความหมายการจําวา คือความสามารถสะสมประสบการณางๆ ที่ไดรับจากการเรียนรูทั้งทางตรงและทางออม แลวสามารถถายทอดออกมาในรูปของการระลึกได้ หรือจําได
มาลินี จุฑะรพ (2537) กลาววาการจํา หมายถึงกระบวนการที่สมองเก็บสะสมสิ่งที่ไดเรียนรูไวและสามารถนําออกมาใชไดเมื่อถึงภาวะจําเป็น
ภาควิชาจิตวิทยาคณะมนุษยศาสตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม (2540) กลาวว่าความจำ คือการที่คนเราสามารถบอกถึงเหตุการณที่ได้จากการเรียนรูแลวสามารถแสดงประสบการณดังกลาว ออกมาในรูปของการระลึกไดหรือการแสดงออกทางพฤติกรรม
กิลฟอรด (Guilford, 1956 : 221) กลาววา ความจําเปน ความสามารถที่จะเก็บหนวยความรูไว และสามารถระลึกไดหรือนําหนวยความรูนั้นออกมาใชไดในลักษณะเดียวกันกับที่เก็บเขาไว ความสามารถดานความจําเปนความสามารถที่จําเปนในกิจกรรมทางสมองทุกแขนง
เทอรสโตน (Thurstone, 1958 : 121) กลาววา สมรรถภาพสมองดานความจําเปน สมรรถภาพดานการระลึกไดและจดจําเหตุการณหรือเรื่องราวตางๆ ไดถูกตองแมนยํา
อดัมส (Adams, 1967 : 9) กลาววา ความจําเปนพฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) ซึ่งเกิดขึ้นภายในจิตเชนเดียวกับความรูสึก การรับรู ความชอบ จินตนาการและพฤติกรรมทางสมองดานอื่น ๆ ของมนุษย
ชวาล แพรัตกุล (2514 : 65) กลาววา คุณลักษณะนี้ก็คือความสามารถของสมอง ในการบันทึกเรื่องราว
ตาง ๆ รวมทั้งที่มีสติระลึกจนสามารถถายทอดออกมาไดอยางถูกตอง
          เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ (2525 : 121) กลาววา ความจํา หมายถึง ความสามารถในการเก็บรักษา บันทึกเรื่องราวตาง ๆ ไวในสมองอยางถูกตองรวดเร็ว และ สามารถระลึกไดโดยสามารถถายทอดสิ่งที่จําไดออกมา
          อเนก เพียรอนุกุลบุตร (2527 : 138) กลาววา ความจําเปนความสามารถที่จะทรงไวซึ่งสิ่งที่รับรูไว
แลวระลึกออกมา อาจระลึกออกมาในรูปของรายละเอียด ภาพ ชื่อ สิ่งของ วัตถุ ประโยค และแนวคิด ฯลฯ
ความจํามี 2 ชนิดใหญ ๆ คือ จําอยางมีความหมายและ จําอยางไมมีความหมาย
          ชาญวิทย เทียมบุญประเสริฐ (2528 : 163) กลาววา ความจําเปนสมรรถภาพใน การจําเรื่องราวตาง ๆ
เหตุการณ ภาพ สัญลักษณ รายละเอียด สิ่งที่มีความหมายและสิ่งที่ไรความหมายและสามารถระลึกหรือถายทอดออกมาได
          ไสว เลี่ยมแกว (2528 : 8) กลาววา ความจํา หมายถึง ผลที่คงอยูในสมองหลัง จากสิ่งเราไดหายไปจากสนามสัมผัสแลว ผลที่คงอยูนี้จะอยูในรูปของรหัสใด ๆ ที่เปนผลจาก การโยงสัมพันธ
          สรุปไดาการจํา คือกระบวนการที่สมองเก็บประสบการณ์ความรู้แล้วจำอย่างมีความหมายหรือจำอย่างไม่มีความหมาย และสามารถระลึกออกมาในรูปแบบต่างๆ
         
ขบวนการและขั้นตอนของการจํา
นักจิตวิทยาได้ศกษาคนควาเกี่ยวกับเรื่องของความจําและได้ใหอสรุปกระบวนการของ ระบบความจํามนุษย์ดงตอไปนี้
           สิ่งเร® การรับขอมูล ® เก็บรักษาขอมูล® การระลึกได®  การตอบสนอง   
          การรับขอมูล (Encoding) หมายถึงการที่ระบบประสาทสัมผัสรับสิ่งเราในรูปของขาวสารหรือขอมูลเขามา
การเก็บรักษาขอมูล ( Storage) หมายถึงการเก็บรักษาขอมูลที่ไดรับมาไวใน สมอง ซึ่งมักจะเก็บตามลักษณะของการรับสัมผัส เชนในแงของการมองเห็นรูปภาพ หรือการได้ยิน เปนตน การระลึกได (Recall) หมายถึงการเอาขอมูลที่เก็บไวมาใช (มธุรส สวางบํารุง , 2542 )
          สรุปไดามนุษย์มีขั้นตอนในการจดจำเป็นกระบวนการโดยเริ่มจากการกระตุนใหเกิดความสนใจและอยากรับรูเป็นการรับขอมูลเขามาในกลไกของสมองเพื่อจัดเก็บและเมื่อถึงเวลาใน อนาคต สามารถระลึกถึงหรือจดจําได้

          ประเภทของการจํา
          ในการศึกษาเรื่องของการจำของมนุษยลักษณะของการจำสามารถจำแนกออกเป็นในลักษณะตางๆ ดังที่    มาลินี จุฑะรพ (2537) แบงการจําออกเป4 ประเภทคือ
          1. การจําได (Recognition) ไดแกการจําสิ่งที่เรารับรูหรือเคยรูจักเมื่อเราไดพบอีกครั้งหนึ่ง เชน การสามารถจําคุณครูที่เคยสอนเราได
          2. การระลึกได (Recall) ไดแกการจําในสิ่งที่เคยรับรูหรอเคยเรียนรูมากอนโดยมิตองพบเห็นสิ่งนั้นอีก เชน ปจจุบันเราสามารถท่องสูตรคูณ หรือทองบทอาขยานที่เคยทองได้ในชั้นประถม โดยไมองดูบทสูตรคูณหรือบทอาขยานนั้นๆ เลย
          3. การเรียนใหม ( Relearning) ได้แกการจำในสิ่งที่เคยรับรู้หรือเคยเรียนมากอนแตบัดนี้ลืมไปแลวเมื่อกลับมาเรียนใหมปรากฏวาเรียนไดรวดเร็วกวาหรือจําไดเร็วกว่าในอดีต เชน เคยทองสูตรคูณแม 12 ไดแตเมื่อลืม
แลวก็เริ่มทองใหมปรากฏวาใชเวลาในการทองนอยลงเป็นต
          4. การระลึกถึงเหตุการณในอดีต (Reintegration) ไดแกการจําเหตุการณที่เกี่ยวโยงกันในอดีตได เมื่อพบเห็นเหตุการณบางอยางที่เกี่ยวโยงกัน เช่น เมื่อนักศึกษาเขาหองสอบในขณะที่ทํา ขอสอบไมไดทําใหองใช้การจำประเภทนี้โดยอาจจะตองระลึกถึงเหตุการณ์ในอดตวา ในขณะที่ ฟงครูสอนเรื่องนั้น ครูได้ยกตัวอยางหรือครูไดอธิบายไวาอยางไรเป็นต
          ไสว เลี่ยมแกว (2528) ไดแบ่งประเภทของความจำไดดังตอไปนี้
          1. การระลึก (Recall) หมายถึงการบอกสิ่งที่เคยเรียนรูมาแล้วการระลึกแบงออกตาม สถานการณที่
เกี่ยวของได 3 แบบคือ
                   1.1 การระลึกเสรี (Free Recall) คือการบอกสิ่งที่เคยเห็นหรือเคยเรียนมาก่อนระลึกสิ่งใดได้กตอบสิ่งนั้น ไมจําเป็นต้องเรียงลําดับก่อนหลัง
                   1.2 การระลึกตามลําดับ (Serial Recall) คือการตอบสิ่งที่เรียนมาจากลําดับแรก จนกระทั่งลําดับสุดทาย
                   1.3 การระลึกตามตัวแนะ (Cue Recall) คือการบอกสิ่งที่เคยเห็นหรือเรียนรูมาโดยมีตัวชี้แนะ
เปนสิ่งเร้า
          2. การรูจักหรือจำได (Recognition) คือการบอกสิ่งตางๆ ไดเมื่อสิ่งที่เคยเรียนรูปรากฏขึ้นอีกครั้ง
          3. การเรียนซ้ำ (Relearning) เปนการจําไดที่เกิดจากการเรียนซ้ำในสิ่งที่ได้เรียนรูไปแล
          4. ความคงทนในการจํา (Retention) หมายถึงความสามารถในการระลึกหรือเรียกสิ่งที่ได เรียนรูจําไดเมื่อเวลาผานไปแลวชวงหนึ่ง (Richards, 1987) ซึ่งในการเรียนการสอนภาษาความคงทนในการจำมักมีผูสนใจไดทําการศึกษาไมาเป็นเสียงคําศัพทโครงสราง หรือกฎเกณฑางๆ ซึ่งคุณภาพของความคงทนในการจําคําศัพทนี้ขึ้นอยูกับคุณภาพของการสอนประสิทธิภาพของคําศัพทและเนื้อหาตลอดจนกิจกรรมตางๆ รวมทั้งความสนใจของ
ผูเรียนเองดวย
          จากแนวคิดที่เกี่ยวกับประเภทของความจําพอสรุปไดาการจํานั้นมีหลายแบบแตกตางกัน ไดแกการระลึกเปนการเรียกใชความจําโดยไมองมีสิ่งใดกระตุน การรูจักหรือจําไดเปนการเรียก ความจําที่อาศัยสิ่งเราที่เกี่ยวของกับสิ่งที่เคยเรียนรูมากอน การเรียนซ้ำเปนการเรียกความจําที่ตองมี การเรียนซ้ำสิ่งที่เคยเรียนและความคงทนในการจําเป็นการเรียกความจำมาใช้ได้หลงจากทิ้งชวงไปแลวในระยะเวลาหนึ่ง

ทฤษฏีเกี่ยวกับการลืม
          1. การเสื่อมลงไป นักจิตวิทยาที่สนับสนุนแนวคิดนี้เชื่อวาขอมูลที่เก็บไวในหนวยความจําจะเสื่อมลง ไปทันทีที่เวลาผานไป ซึ่งโดยปกติคนเราจะลืมสิ่งที่เพิ่งไดทําผานไปทันทีเวนแตจะนึกถึงสิ่งนั้นบอยๆ
          2. การรบกวนกันของขอมูล ทฤษฏีนี้กลาววาการลืมเกิดขึ้นจากการที่มีขอมูลอื่นสอดแทรกเขามาใน ระหวางที่เรากําลังจดจํา การรบกวนกันของขอมูลมีสองประเภทคือ proactive interference และ retroactive interference (Bernstein. 1999 : 206) ซึ่ง proactive interference คือการที่ขอมูลเกาที่เคยเรียนรูมากอนหนา นี้เขามารบกวนการเรียนรูขอมูลใหมที่กําลังเรียนรูสวน retroactive interference คือการที่ขอมูลใหมยอนกลับ ไปรบกวนขอมูลเกาที่เคยเรียนรูมากอน
          3. ความลมเหลวในการกูกลับคืน คือการที่เราไมสามารถกูขอมูลที่บันทึกไวกลับคืนมาไดเนื่องจาก ไมมีสิ่งกระตุนที่เหมาะสมที่จะทําใหเราสามารถกูขอมูลกลับคืนมาได
          4. แรงจูงใจที่จะลืม เปนแรงกระตุนจากภายในที่ผลักดันใหเราลืมสิ่งที่ไมพึงปรารถนาอันเนื่องมาจาก มีการเก็บกดประสบการณและความนึกคิดที่ไมพึงปรารถนาใหอยูในระดับจิตไรสํานึก



ทฤษฎีเกี่ยวกับความสามารถดานความจํา
          ในทางจิตวิทยา ไดมีการกลาวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการจําและการลืมไวหลายทฤษฎี แตที่สําคัญสรุปไดมี 4 ทฤษฎี คือ
          ทฤษฎีความจําสองกระบวนการ (Two – Process Theory of Memory) ทฤษฎีนี้สรางขึ้นโดย
แอตคินสัน และชิฟฟริน (Atkinson and Shiffrin) ในป ค.ศ. 1968 กลาวถึงความจําระยะสั้นหรือความจําทันทีทันใดและความจําระยะยาววา ความจําระยะสั้นเปน ความจําชั่วคราว สิ่งใดก็ตามถาอยูในความจําระยะสั้นจะตองไดรับการทบทวนอยูตลอดเวลามิฉะนั้นความจําสิ่งนั้นจะสลายตัวไปอยางรวดเร็ว ในการทบทวนนั้นเราจะไมสามารถทบทวนทุก สิ่งที่เขามาอยูในระบบความจําระยะสั้น ดังนั้นจํานวนที่เราจําไดในความจําระยะสั้นจึงมีจํากัด การทบทวนปองกันไมใหความจําสลายตัวไปจากความจําระยะสั้น และถาสิ่งใดอยูในความจํา ระยะสั้นเปนระยะเวลายิ่งนาน สิ่งนั้นก็มีโอกาสฝงตัวในความจําระยะยาว ถาเราจําสิ่งใดไดใน 11 ความจําระยะเวลายิ่งนาน สิ่งนั้นก็มีโอกาสฝงตัวในความจําระยะยาว ถาเราจําสิ่งใดไวในความ จําระยะยาวสิ่งนั้นก็จะติดอยูในความทรงจําตลอดไป
(ชัยพร วิชชาวุธ, 2520 : 71)
          ทฤษฎีการสลายตัว (Decay Theory) เปนทฤษฎีการลืม กลาววา การลืมเกิด ขึ้นเพราะการละเลยในการทบทวน หรือไมนําสิ่งที่จะจําไวออกมาใชเปนประจํา การละเลยจะ ทําใหความจําคอย ๆ สลายตัวไปเองในที่สุด ทฤษฎีการสลายตัวนี้นาจะเปนจริงในความจํา ระยะสั้น เพราะในความจําระยะสั้นหากเรามิไดจดจอหรือสนใจทบทวนในสิ่งที่ตองการจะจํา เพียงชั่วครูสิ่งนั้นจะหายไปจากความทรงจําทันที (Adams, 1967 : 23 - 25)
          ทฤษฎีการรบกวน (Interference Theory) เปนทฤษฎีเกี่ยวกับการลืมที่ยอมรับ กันในปจจุบันทฤษฎีหนึ่ง ทฤษฎีนี้ขัดแยงกับทฤษฎีการสลายตัว โดยกลาววาเวลาเพียงอยาง เดียวไมสามารถทําใหเกิดการลืมได แตสิ่งที่เกิดในชวงดังกลาวจะเปนสิ่งคอยรบกวนสิ่งอื่น ๆ ในการจํา การรบกวนนี้ แยกออกเปน 2 แบบ คือ การตามรบกวน (Proactive Interference) หรือการรบกวนตามเวลา หมายถึง สิ่งเกา ๆ ที่เคยประสบมาแลวหรือจําไดอยูแลวมารบกวน สิ่งที่จะจําใหม ทําใหจําสิ่งเราใหมไมคอยได อีกแบบของการรบกวนก็คือ การยอนรบกวน (Retroactive Interference) หรือการรบกวนยอนเวลา หมายถึงการพยายามจําสิ่งใหมทําใหลืม สิ่งเกาที่จําไดมากอน (Adams, 1980 : 299 - 307) จึงกลาวไดวา ทฤษฎีการลืมนี้ เกิดขึ้นโดย ความรูใหมไปรบกวนความรูเกา ทําใหลืมความรูเกาและความรูเกาก็สามารถไปรบกวนความรู ใหมไดดวย
          ทฤษฎีการจัดกระบวนการตามระดับความลึก (Depth – of – Processing Theory) ทฤษฎีนี้สรางขึ้นโดย เครก และลอกฮารท (Craik and Lockhart) ในป 1972 ซึ่ง ขัดแยงกับความคิดของ แอตคินสัน และชิฟฟริน ที่กลาววา ความจํามีโครงสรางและตัวแปร สําคัญของความจําในความจําระยะยาวก็คือ ความยาวนานของเวลาที่ทบทวนสิ่งที่จะจําใน ความจําระยะสั้น แตเครก และลอกฮารท มีความคิดวา ความจําไมมีโครงสรางและความจําที่ เพิ่มขึ้นไมไดเกิดขึ้นเพราะมีเวลาทบทวนในความจําระยะสั้นนาน แตเกิดขึ้นเพราะความซับ ซอนของการเขารหัสที่ซับซอน หรือการโยงความสัมพันธของสิ่งที่ตองการจํา ยอมอาศัยเวลา แตเวลาดังกลาวไมใชเพื่อการทบทวน
แตเพื่อการระลึกหรือซับซอนของการกระทํากับสารที่เขา ไป (การเขารหัส) ถายิ่งลึก (ซับซอน) ก็จะยิ่งจําไดมาก
นั่นคือตองใชเวลามากดวย (ไสว เลี่ยม แกว, 2528 : 20 - 23)
http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/teng0952ah_ch2.pdf
http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/6707/9/Chapter2.pdf         
ระบบของความจํา
          ความจําเป็นระบบการทํางานที่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา (Active System)ในการรับ(Receives) เก็บ(Stores) จัดการ(Organizes) การเปลี่ยนแปลง(Alter) และนําข้อมูล ออกมา(Recovers) โดยการทํางานของความจํานี้จะคล้ายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ เริ่มจากการใส่รหัสข้อมูลเข้าไป จากนั้นจะเก็บข้อมูลไว้ในระบบเมื่อต้องการข้อมูลใดก็จะเรียกออกมาใช้เช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ความจําแบ่งออกเป็น 3 ระบบ ดังนี้
          1.ความจําจากการรับสัมผัส ( Sensory Memory) เป็นความจําที่เกิดจากประสาทรับสัมผัส คือ หู ตา จมูก ลิ้น และกาย โดยการจําแบบนี้เป็นระบบการจําขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือ ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้นๆ เพื่อถ่ายทอดข้อมูลต่อไป ยังระบบการจําอื่นๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตา (Icon) หรือจินตภาพจะคงอยู่ได้ครึ่งวินาที( 1/2 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยินเสียงก้องหู(Echo) ของสิ่งที่ได้ยิน จะคงอยู่ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้ หากไม่มีการส่งต่อ ข้อมูลสิ่งที่จําได้จะหายไปอย่างรวดเร็ว
          2.ความจําระยะสั้น(Short –Term Memory :STM) ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูล ชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด(สามารถจําได้ประมาณ 7 ตัว เรียกว่า มีความจําระยะสั้นในระดับเฉลี่ย) โดยในระยะแรกจะเก็บข้อมูลในลักษณะจินตภาพ แต่บ่อยครั้งมักจะเก็บ ข้อมูลในลักษณะของเสียง ซึ่งความจําระยะสั้นนี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้เราสับสนเกี่ยวกับชื่อ วันที่ หมายเลขโทรศัพท์ และเรื่องเล็กๆน้อยๆ นอกจากนั้นยังเป็นความจําในส่วนปฏิบัติงานเรียกว่า Working Memory ซึ่งช่วยในการคิดของเราเป็นอย่างมากอีกด้วย นักจิตวิทยาชื่อ จอร์จ มิลเลอร์ (George Miller)ได้แสดงให้เห็นว่า ความจําระยะ สั้นสามารถจําข้อมูลได้ 7+2 หน่วย ถ้ามีข้อมูลที่ต้องจํามากกว่า 7 ตัว ความผิดพลาดจะ เกิดขึ้น ถ้ามีข้อมูลใหม่มาเพิ่มนอกเหนือจาก 7 ตัวเดิม จะทําให้ข้อมูลใหม่และเก่าบางข้อมูล หายไปได้ และยังพบอีกว่า ปัจจัยที่ให้เราสามารถจําได้นานขึ้ นนั้นคือ การจดบันทึก (Recording)และการทบทวน ( Rehearsal) ความจําระยะสั้นนี้ อาจจะถูกรบกวนหรือถูก 3 แทรกได้ง่าย ซึ่งถ้าไม่มีการทบทวนจะอยู่ได้เพียง 18 วินาที และจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ ข้อมูลเก่า
          3.ความจําระยะยาว(Long-Term Memory : LTM) ทําหน้าที่เหมือนคลังข้อมูล ถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ เป็นระบบที่สามารถเก็บข้อมูลความจําได้เนิ่นนานและไม่จํากัดโดยจะเก็บข้อมูลไว้บนพื้นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล ความจําระยะยาว มี 2 ประเภท คือ 1)การจําความหมาย (Semantic Memory)เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็ น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลกเอาไว้ ซึ่งเกือบจะไม่ลืมเลย เช่น ชื่อเดือน ชื่อวัน ภาษา และทักษะการ คํานวณง่ายๆ ฯลฯ โดยจะไม่เกี่ยวข้องกับเวลาและสถานที่ จึงเปรียบเสมือนพจนานุกรมทาง จิต หรือสารานุกรมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐาน 2)การจําเหตุการณ์(Episodic Memory) เป็นการจําเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตตนเอง จะเป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิตวันต่อวัน ปี ต่อปี เช่น การจําสถานที่ท่องเที่ยวได้อย่างแม่นยํา ฯลฯ ซึ่งการจําเหตุการณ์นี้ จะลืมง่ายกว่าการจําความหมาย เพราะมีเหตุการณ์ใหม่ๆ เข้ามาในชีวิตเราอยู่ตลอดเวลา
          การสร้างความจํา (Constructing Memory) คือ การที่ข้อมูลหรือเหตุการณ์ใหม่ๆ เข้าไปในความจําระยะยาว แล้วจะทําให้ความจํา เก่าๆเปลี่ยนแปลง สูญหาย หรือมีการปรับปรุงใหม่ ซึ่งถือว่า เป็นการสร้างความจําขึ้นมา เช่น การ ทดลองที่ให้คนกลุ่มหนึ่งดูภาพรถชนกัน โดยใช้คํา อื่นๆแทนคําว่า ชนกัน เช่น ประสานงา กระแทก ปะทะกัน ฯลฯ ปรากฏว่า ความจําของคนเหล่านั้น ถูกแทรกด้วยข้อมูลใหม่ จนทําให้เกิด การจําผิดๆ (Pseudo Memory)ขึ้นมาได้ แต่พวกเขาก็เชื่อว่าจําได้อย่างถูกต้องแล้ว
          การจัดการ (Organization) นั่นคือ ความจําระยะยาวและการจําความหมายมักจะมี การจัดการข้อมูลในระดับสูง โดยการจัดการข้อมูลในความจําระยะยาวนั้นไม่ได้เรียงตาม ตัวอักษร แต่มักจัดตามกฎเกณฑ์ จินตภาพ ประเภท สัญลักษณ์ ความคล้าย หรือความหมาย ทั้งนี้ การจัดการข้อมูลจะอยู่ใน แบบเครือข่าย (Network Model)ของความคิด โดยสิ่งที่ เชื่อมโยงกันในเครือข่ายที่ใกล้กว่า จะทําให้สรุปคําตอบได้เร็วกว่า เช่น การที่เราตอบคําถาม ว่า “คีรีบูนเป็นนกใช่หรือไม่” ได้เร็วกว่าการตอบคําถามว่า “คีรีบูนเป็นสัตว์ใช่หรือไม่” ฯลฯ นอกจากนี้ ความจําของเรายังจัดการข้อมูลให้อยู่ลักษณะการสรุปแบบโครงร่าง หรือ โครงร่างของเหตุการณ์ในชีวิตประจําวันที่เรียกว่า สคริปต์(Script) ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจและจํา เหตุการณ์ได้ง่ายขึ้ น ดังนั้นวิธีการรักษาความทรงจําให้คงอยู่ได้ ก็คือ การจําในสิ่งที่มีความหมาย การจําเหตุการณ์ที่เกิดขึ้ นในชีวิตประจําวัน การสร้างความจําขึ้นใหม่ และมีการบริหารจัดการข้อมูล ฯลฯ โดยปกติแล้วความจําที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ เป็ นการทํางานควบคู่กันของ STM และ LTM ซึ่งเรียกว่า ความจําคู่ (Dual Memory) 6การวัดความจํา 5 ความจําของคนเรานั้นไม่ได้อยู่ในลักษณะจําได้ทั้งหมด หรือจําไม่ได้เลย ( All or Nothing Event) เราอาจจําได้บางส่วน เช่น จําคําที่ต้องการไม่ได้ แต่จําตัวอักษรตัวต้นและตัว ท้ายได้ หรืออาจจําความหมายได้ แต่นึกคําไม่ออกเพราะติดอยู่ที่ริมฝีปาก เป็นต้น วิธีวัดความจํา มี 4 แบบ
          1.การระลึกได้ (Recall) หมายถึง การถอดแบบข้อมูลหรือข้อเท็จจริง โดยวิธีที่ใช้ทดสอบการ ระลึกได้นี้ คือ การให้จําทุกตัวอักษร (คําต่อคํา) เช่น ท่องอาขยาน โดยไม่มีสิ่งใดมาช่วย กระตุ้นความจํา และผลการทดสอบพบว่า เราสามารถจําคําสุดท้ายได้ดีที่สุด เพราะยังอยู่ใน ความจําระยะสั้น ส่วนคําต้นๆก็ยังจําได้อยู่ เพราะอยู่ในความจําระยะสั้นที่สามารถทบทวนได้ แต่คําในช่วงกลางนั้นไม่ได้อยู่ทั้งในความจําระยะสั้นและความจําระยะยาว ดังนั้นจึงมักจะ เลือนหายไป
           2.การจําได้ (Recognition) เป็นการวัดความจําโดยมีสื่อกระตุ้นหรือชี้ แนะให้จําได้ เช่น ข้อสอบแบบเลือกตอบ (แบบปรนัย) เห็นร่มก็จําได้ว่า เป็นของตนที่เคยทําหาย หรือการนึก ชื่อเพื่อนสมัย ป.ไม่ออก แต่เมื่อนํารูปมาดูก็อาจจะนึกออก เป็นต้น ซึ่งการจําได้นี้ สามารถ วัดความจําได้ดีกว่าการระลึกได้ ตํารวจจึงนิยมให้พยานชี้ ตัวผู้ต้องสงสัยจากภาพถ่าย หรือ การสเก็ตซ์ภาพให้พยานดู
          3.การเรียนซํ้า (Relearning)เป็นการวัดความจําในสิ่งที่เราเคยเรียนรู้มาแล้ว แต่ไม่อาจระลึกหรือจําได้ แต่เมื่อเรียนซํ้าอีกก็ปรากฏว่า เราเรียนได้เร็วขึ้นและใช้เวลาเรียนน้อยว่าเดิม 6 เพราะเคยมีคะแนนสะสม(Saving Score)ไว้แล้ว เช่น เคยใช้เวลาเรียน 1 ชั่วโมงก็จําได้ แต่ หลังจากนั้น 2 ปี ก็จําไม่ได้แล้วแต่เมื่อให้เรียนซํ้า ใช้เวลาเรียนเพียง 45 นาที ก็สามารถจําได้ ฯลฯ
          4.การบูรณาการใหม่ (Reintegration) หมายถึง การที่ความจําหนึ่งจะไปกระตุ้นให้เกิด ความจําอื่นๆตามมา เรียกได้ว่า ประสบการณ์ในอดีตทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาใหม่จากสิ่งที่ สะสมไว้แม้เพียงสิ่งเดียว เช่น ไปพบภาพเมื่อครั้งไปเที่ยวเชียงใหม่เข้าก็กระตุ้นให้นึกถึงภาพ การเดินทางและความสนุกสนานที่เกิดขึ้นบนรถไฟ นึกถึงความเหนื่อยล้าเมื่อเดินขึ้นดอยสุ เทพ นึกถึงกลิ่นกุหลาบที่ภูพิงค์ราชนิเวศน์ และอื่นๆต่อไป ฯลฯ

การลืม
          การลืม (Forgetting) การลืมส่วนใหญ่เกิดขึ้นทันทีภายหลังการจํา โดย เฮอร์แมน เอบบิงเฮาส์(Herman Ebbinghaus) ได้ทําการทดสอบความจําหลังการเรียนรู้คําที่ไม่มีความหมายในช่วงเวลาที่ ต่างๆกัน ซึ่งเขาพบว่า การลืมจะมีมากในช่วงแรก และน้อยลงในช่วงหลังๆ กล่าวคือ เราจะจํา ได้ 100% ในช่วงเริ่มต้น เมื่อเวลาผ่านไป 20 นาที ความจําจะเหลือ 60%, 1 ชั่วโมงผ่าน ไปจะจําได้ 50%, 9 ชั่วโมงผ่านไปจะจําได้ 40%, และภายใน 1 วัน ความจําจะเหลือ ประมาณ 30% สาเหตุของการลืม มีดังนี้
          1. การไม่ได้ลงรหัส (Encoding Failure) หมายถึง ไม่ได้มีการป้อนข้อมูลเข้าไปในความทรงจำตั้งแต่แรก
          2. การเสื่อมสลาย (Decay)หมายถึง การ เสื่อมสลายของรอยความจําตามกาลเวลาที่เกิดขึ้น ในความจําจากการรับสัมผัสและความจําระยะสั้น นั่นคือ ข้อมูลเก่าจะเลือนหายไปและถูกแทนที่ด้วยข้อมูลที่ใหม่กว่า ส่วนสาเหตุที่ทําให้ข้อมูลที่เก็บในคลังข้อมูลของระบบความจําระยะยาวเสื่อมสลาย คือ การไม่ได้ใช้ (Disuse)
          3.การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ(Cue-Dependent Forgetting) หมายถึง การที่เรา มีความจําเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างแต่ไม่สามารถนําความจํานั้นออกมาใช้ได้ จนบ่อยครั้งที่ เรามักจะพูดว่า “ติดอยู่ที่ริมฝีปาก
          4.การรบกวน (Interfere) หมายถึง การเรียนรู้ใหม่มารบกวน(ความจําของ)การเรียนรู้ เดิมทําให้เกิดการลืม โดยเกิดขึ้นได้ทั้งในความจําระยะสั้นและความจําระยะยาว ซึ่งการ รบกวนนี้ มักจะเป็นสาเหตุสําคัญของการลืม โดยแบ่งออกเป็ น 2 ประเภท คือ 1)Retroactive Inhibition คือ การเรียนรู้ใหม่ไปรบกวนการเรียนรู้เดิมทําให้ลืม สิ่งที่เคยเรียนรู้มาก่อนหน้านี้ 2)Proactive Inhibition คือ สิ่งที่เรียนรู้เดิมรบกวนสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ทำให้จําสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ไม่ได้
          5.การเก็บกด (Repression) หมายถึง การลืมความจําที่เจ็บปวด น่าอาย ผิดหวัง ไม่ พอใจ หรือไม่ชอบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะถูกเก็บกดอยู่ในจิตใต้สํานึก เช่น ลืมความล้มเหลวในอดีต ลืมเหตุการณ์อันเลวร้าย ลืมชื่อบุคคลที่ไม่ชอบ ลืมการนัดหมายที่ไม่ต้องการไป ฯลฯ ซึ่ง แตกต่างจากการระงับ(Suppression) ที่หมายถึง การหลีกเลี่ยงที่จะไม่คิดถึงบางสิ่งบางอย่าง 8 เช่น หลีกเลี่ยงที่จะไม่คิดถึงการสอบในสัปดาห์หน้า โดยเป็นสภาวะที่จิตใจเกิดความขัดแย้ง แต่เป็นสิ่งที่เรารู้ตัว เพราะเป็นการกระทําในระดับจิตสํานึก
     จากข้างต้นสามารถสรุปได้ว่าคนเรานั้นเมื่อรับรู้อะไรก็ตามหากเวลาผ่านไปก็จะลืมไปทีละครึ่งทีละครึ่งจนลืมสนิท ในการเรียนของเรานั้นก็เช่นกันหากต้องการที่จะจำได้นั้นก็ต้องฝึกและทบทวนอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการลืม
อ้างอิง
http://www.educ-bkkthon.com/blog/apsornsiri/wp-content/uploads/2014/4.pdf

ความจํา เป็นระบบการทํางานที่ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา (Active System) ในการรับ(Receives) เก็บ(Stores) จัดการ(Organizes) การเปลี่ยนแปลง(Alter) และนําข้อมูล ออกมา(Recovers) โดยการทํางานของความจํานี้ จะคล้าย กับเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ เริ่มจากการใส่รหัสข้อมูลเข้าไป จากนั้นจะเก็บข้อมูลไว้ในระบบ เมื่อต้องการข้อมูลใดก็จะ เรียกออกมาใช้เช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ความจํา แบ่งออกเป็น 3 ระบบ ดังนี้
1.ความจําจากการรับสัมผัส ( Sensory Memory) เป็นความจําที่เกิดจากประสาทรับสัมผัส คือ หู ตา จมูก ลิ้น และกาย โดยการจําแบบนี้ เป็นระบบการจํา ขั้นแรกที่จะเก็บข้อมูลในลักษณะถอดแบบสิ่งที่ได้เห็นหรือ ได้ยินทุกอย่างเอาไว้ในช่วงสั้นๆ เพื่อถ่ายทอดข้อมูลต่อไป ยังระบบการจําอื่นๆ เช่น ถ้าได้เห็นข้อมูล ภาพติดตา (Icon) หรือจินตภาพจะคงอยู่ได้ครึ่งวินาที( 1/2 วินาที) แต่ถ้าเกิดจากการได้ยินเสียงก้องหู(Echo) ของสิ่งที่ได้ยิน จะคงอยู่ประมาณ 2 วินาที ฯลฯ ทั้งนี้ หากไม่มีการส่งต่อ ข้อมูลสิ่งที่จําได้จะหายไปอย่างรวดเร็ว
2.ความจําระยะสั้น (Short –Term Memory :STM) ทําหน้าที่คล้ายคลังข้อมูล ชั่วคราวที่เก็บข้อมูลได้ในจํานวนจํากัด(สามารถจําได้ประมาณ 7 ตัว เรียกว่า มีความจําระยะ สั้นในระดับเฉลี่ย) โดยในระยะแรกจะเก็บข้อมูลในลักษณะจินตภาพ แต่บ่อยครั้งมักจะเก็บ ข้อมูลในลักษณะของเสียง ซึ่งความจําระยะสั้นนี้ จะช่วยป้องกันไม่ให้เราสับสนเกี่ยวกับชื่อ วันที่ หมายเลขโทรศัพท์ และเรื่องเล็กๆน้อยๆ นอกจากนั้นยังเป็น ความจําในส่วน ปฏิบัติงานเรียกว่า Working Memory ซึ่งช่วยในการคิดของเราเป็นอย่างมากอีกด้วย นักจิตวิทยาชื่อ จอร์จมิลเลอร์ (George Miller)ได้แสดงให้เห็นว่า ความจําระยะ สั้นสามารถจําข้อมูลได้ 7+2 หน่วย ถ้ามีข้อมูลที่ต้องจํามากกว่า 7 ตัว ความผิดพลาดจะ เกิดขึ้น ถ้ามีข้อมูลใหม่มาเพิ่มนอกเหนือจาก 7 ตัวเดิม จะทําให้ข้อมูลใหม่และเก่าบางข้อมูล หายไปได้ และยังพบอีกว่า ปัจจัยที่ให้เราสามารถจําได้นานขึ้นนั้นคือ การจดบันทึก (Recording)และการทบทวน ( Rehearsal) ความจําระยะสั้นนี้ อาจจะถูกรบกวนหรือถูก 3 แทรกได้ง่าย ซึ่งถ้าไม่มีการทบทวนจะอยู่ได้เพียง 18 วินาที และจะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแทนที่ ข้อมูลเก่า
3.ความจําระยะยาว (Long-Term Memory : LTM) ทําหน้าที่เหมือนคลังข้อมูล ถาวรซึ่งบรรจุทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับโลกเอาไว้ เป็นระบบที่สามารถเก็บข้อมูลความจําได้เนิ่น นานและไม่จํากัด โดยจะเก็บข้อมูลไว้บนพื้ นฐานของความหมายและความสําคัญของข้อมูล
ความจําระยะยาว มี 2 ประเภท คือ
          1)การจําความหมาย (Semantic Memory) เป็นการจําความรู้พื้นฐานที่เป็น ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโลกเอาไว้ ซึ่งเกือบจะไม่ลืมเลย เช่น ชื่อเดือน ชื่อวัน ภาษา และทักษะการ คํานวณง่ายๆ ฯลฯ โดยจะไม่เกี่ยวข้องกับเวลาและสถานที่ จึงเปรียบเสมือนพจนานุกรมทาง จิต หรือสารานุกรมเกี่ยวกับความรู้พื้ นฐาน
          2)การจําเหตุการณ์(Episodic Memory) เป็นการจําเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตตนเอง จะเป็นการบันทึกเหตุการณ์ในชีวิตวันต่อวัน ปี ต่อปี เช่น การจําสถานที่ท่องเที่ยวได้อย่าง แม่นยํา ฯลฯ ซึ่งการจําเหตุการณ์นี้ จะลืมง่ายกว่าการจําความหมาย เพราะมีเหตุการณ์ใหม่ๆ เข้ามาในชีวิตเราอยู่ตลอดเวลา
          การสร้างความจํา (Constructing Memory) คือ การที่ข้อมูลหรือเหตุการณ์ใหม่ๆ เข้าไปในความจําระยะยาว แล้วจะทําให้ความจํา เก่าๆเปลี่ยนแปลง สูญหาย หรือมีการปรับปรุงใหม่ ซึ่งถือว่า เป็นการสร้างความจําขึ้ นมา เช่น การ ทดลองที่ให้คนกลุ่มหนึ่งดูภาพรถชนกัน โดยใช้คํา อื่นๆแทนคําว่า ชนกัน เช่น ประสานงา กระแทก ปะทะกัน ฯลฯ ปรากฏว่า ความจําของคนเหล่านั้น ถูกแทรกด้วยข้อมูลใหม่ จนทําให้เกิด การจําผิดๆ (Pseudo Memory)ขึ้ นมาได้ แต่พวกเขาก็เชื่อว่า จําได้อย่างถูกต้องแล้ว 4
การจัดการ (Organization) นั่นคือ ความจําระยะยาวและการจําความหมายมักจะมีการจัดการข้อมูลในระดับสูง โดยการจัดการข้อมูลในความจําระยะยาวนั้นไม่ได้เรียงตาม ตัวอักษร แต่มักจัดตามกฎเกณฑ์ จินตภาพ ประเภท สัญลักษณ์ ความคล้าย หรือความหมาย ทั้งนี้ การจัดการข้อมูลจะอยู่ใน แบบเครือข่าย (Network Model)ของความคิด โดยสิ่งที่ เชื่อมโยงกันในเครือข่ายที่ใกล้กว่า จะทําให้สรุปคําตอบได้เร็วกว่า เช่น การที่เราตอบคําถาม ว่า คีรีบูนเป็นนกใช่หรือไม่ได้เร็วกว่าการตอบคําถามว่า คีรีบูนเป็นสัตว์ใช่หรือไม่ฯลฯ นอกจากนี้ ความจําของเรายังจัดการข้อมูลให้อยู่ลักษณะการสรุปแบบโครงร่าง หรือ โครงร่างของเหตุการณ์ในชีวิตประจําวันที่เรียกว่า สคริปต์(Script) ซึ่งช่วยให้เราเข้าใจและจําเหตุการณ์ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นวิธีการรักษาความทรงจําให้คงอยู่ได้ ก็คือ การจําในสิ่งที่มีความหมาย การจําเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวัน การสร้างความจําขึ้นใหม่ และมีการบริหารจัดการข้อมูล ฯลฯ โดยปกติแล้วความจําที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ เป็นการทํางานควบคู่กันของ STM และ LTM ซึ่งเรียกว่า ความจําคู่ (Dual Memory)

http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/teng0952ah_ch2.pdf