วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ปัญหานักเรียนแล้วแล้วลืม ขาดความจำ

ความหมายของการจำ

ความหมายของการจํามีผูที่ใหความหมายไวหลายทานด้วยกัน ดังนี้
กมลรัตน์ หลาสุวงษ (2528) ใหความหมายการจําวา คือความสามารถสะสมประสบการณางๆ ที่ไดรับจากการเรียนรูทั้งทางตรงและทางออม แลวสามารถถายทอดออกมาในรูปของการระลึกได้ หรือจําได
มาลินี จุฑะรพ (2537) กลาววาการจํา หมายถึงกระบวนการที่สมองเก็บสะสมสิ่งที่ไดเรียนรูไวและสามารถนําออกมาใชไดเมื่อถึงภาวะจําเป็น
ภาควิชาจิตวิทยาคณะมนุษยศาสตรมหาวิทยาลัยเชียงใหม (2540) กลาวว่าความจำ คือการที่คนเราสามารถบอกถึงเหตุการณที่ได้จากการเรียนรูแลวสามารถแสดงประสบการณดังกลาว ออกมาในรูปของการระลึกไดหรือการแสดงออกทางพฤติกรรม
กิลฟอรด (Guilford, 1956 : 221) กลาววา ความจําเปน ความสามารถที่จะเก็บหนวยความรูไว และสามารถระลึกไดหรือนําหนวยความรูนั้นออกมาใชไดในลักษณะเดียวกันกับที่เก็บเขาไว ความสามารถดานความจําเปนความสามารถที่จําเปนในกิจกรรมทางสมองทุกแขนง
เทอรสโตน (Thurstone, 1958 : 121) กลาววา สมรรถภาพสมองดานความจําเปน สมรรถภาพดานการระลึกไดและจดจําเหตุการณหรือเรื่องราวตางๆ ไดถูกตองแมนยํา
อดัมส (Adams, 1967 : 9) กลาววา ความจําเปนพฤติกรรมภายใน (Covert Behavior) ซึ่งเกิดขึ้นภายในจิตเชนเดียวกับความรูสึก การรับรู ความชอบ จินตนาการและพฤติกรรมทางสมองดานอื่น ๆ ของมนุษย
ชวาล แพรัตกุล (2514 : 65) กลาววา คุณลักษณะนี้ก็คือความสามารถของสมอง ในการบันทึกเรื่องราว
ตาง ๆ รวมทั้งที่มีสติระลึกจนสามารถถายทอดออกมาไดอยางถูกตอง
          เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ (2525 : 121) กลาววา ความจํา หมายถึง ความสามารถในการเก็บรักษา บันทึกเรื่องราวตาง ๆ ไวในสมองอยางถูกตองรวดเร็ว และ สามารถระลึกไดโดยสามารถถายทอดสิ่งที่จําไดออกมา
          อเนก เพียรอนุกุลบุตร (2527 : 138) กลาววา ความจําเปนความสามารถที่จะทรงไวซึ่งสิ่งที่รับรูไว
แลวระลึกออกมา อาจระลึกออกมาในรูปของรายละเอียด ภาพ ชื่อ สิ่งของ วัตถุ ประโยค และแนวคิด ฯลฯ
ความจํามี 2 ชนิดใหญ ๆ คือ จําอยางมีความหมายและ จําอยางไมมีความหมาย
          ชาญวิทย เทียมบุญประเสริฐ (2528 : 163) กลาววา ความจําเปนสมรรถภาพใน การจําเรื่องราวตาง ๆ
เหตุการณ ภาพ สัญลักษณ รายละเอียด สิ่งที่มีความหมายและสิ่งที่ไรความหมายและสามารถระลึกหรือถายทอดออกมาได
          ไสว เลี่ยมแกว (2528 : 8) กลาววา ความจํา หมายถึง ผลที่คงอยูในสมองหลัง จากสิ่งเราไดหายไปจากสนามสัมผัสแลว ผลที่คงอยูนี้จะอยูในรูปของรหัสใด ๆ ที่เปนผลจาก การโยงสัมพันธ
          สรุปไดาการจํา คือกระบวนการที่สมองเก็บประสบการณ์ความรู้แล้วจำอย่างมีความหมายหรือจำอย่างไม่มีความหมาย และสามารถระลึกออกมาในรูปแบบต่างๆ
         
  

ขบวนการและขั้นตอนของการจํา

นักจิตวิทยาได้ศกษาคนควาเกี่ยวกับเรื่องของความจําและได้ใหอสรุปกระบวนการของ ระบบความจํามนุษย์ดงตอไปนี้
           สิ่งเร® การรับขอมูล ® เก็บรักษาขอมูล® การระลึกได®  การตอบสนอง   
          การรับขอมูล (Encoding) หมายถึงการที่ระบบประสาทสัมผัสรับสิ่งเราในรูปของขาวสารหรือขอมูลเขามา
การเก็บรักษาขอมูล ( Storage) หมายถึงการเก็บรักษาขอมูลที่ไดรับมาไวใน สมอง ซึ่งมักจะเก็บตามลักษณะของการรับสัมผัส เชนในแงของการมองเห็นรูปภาพ หรือการได้ยิน เปนตน การระลึกได (Recall) หมายถึงการเอาขอมูลที่เก็บไวมาใช (มธุรส สวางบํารุง , 2542 )
          สรุปไดามนุษย์มีขั้นตอนในการจดจำเป็นกระบวนการโดยเริ่มจากการกระตุนใหเกิดความสนใจและอยากรับรูเป็นการรับขอมูลเขามาในกลไกของสมองเพื่อจัดเก็บและเมื่อถึงเวลาใน อนาคต สามารถระลึกถึงหรือจดจําได้


 ประเภทของการจํา

          ในการศึกษาเรื่องของการจำของมนุษยลักษณะของการจำสามารถจำแนกออกเป็นในลักษณะตางๆ ดังที่    มาลินี จุฑะรพ (2537) แบงการจําออกเป4 ประเภทคือ
          1. การจําได (Recognition) ไดแกการจําสิ่งที่เรารับรูหรือเคยรูจักเมื่อเราไดพบอีกครั้งหนึ่ง เชน การสามารถจําคุณครูที่เคยสอนเราได
          2. การระลึกได (Recall) ไดแกการจําในสิ่งที่เคยรับรูหรอเคยเรียนรูมากอนโดยมิตองพบเห็นสิ่งนั้นอีก เชน ปจจุบันเราสามารถท่องสูตรคูณ หรือทองบทอาขยานที่เคยทองได้ในชั้นประถม โดยไมองดูบทสูตรคูณหรือบทอาขยานนั้นๆ เลย
          3. การเรียนใหม ( Relearning) ได้แกการจำในสิ่งที่เคยรับรู้หรือเคยเรียนมากอนแตบัดนี้ลืมไปแลวเมื่อกลับมาเรียนใหมปรากฏวาเรียนไดรวดเร็วกวาหรือจําไดเร็วกว่าในอดีต เชน เคยทองสูตรคูณแม 12 ไดแตเมื่อลืม
แลวก็เริ่มทองใหมปรากฏวาใชเวลาในการทองนอยลงเป็นต
          4. การระลึกถึงเหตุการณในอดีต (Reintegration) ไดแกการจําเหตุการณที่เกี่ยวโยงกันในอดีตได เมื่อพบเห็นเหตุการณบางอยางที่เกี่ยวโยงกัน เช่น เมื่อนักศึกษาเขาหองสอบในขณะที่ทํา ขอสอบไมไดทําใหองใช้การจำประเภทนี้โดยอาจจะตองระลึกถึงเหตุการณ์ในอดตวา ในขณะที่ ฟงครูสอนเรื่องนั้น ครูได้ยกตัวอยางหรือครูไดอธิบายไวาอยางไรเป็นต
          ไสว เลี่ยมแกว (2528) ไดแบ่งประเภทของความจำไดดังตอไปนี้
          1. การระลึก (Recall) หมายถึงการบอกสิ่งที่เคยเรียนรูมาแล้วการระลึกแบงออกตาม สถานการณที่
เกี่ยวของได 3 แบบคือ
                   1.1 การระลึกเสรี (Free Recall) คือการบอกสิ่งที่เคยเห็นหรือเคยเรียนมาก่อนระลึกสิ่งใดได้กตอบสิ่งนั้น ไมจําเป็นต้องเรียงลําดับก่อนหลัง
                   1.2 การระลึกตามลําดับ (Serial Recall) คือการตอบสิ่งที่เรียนมาจากลําดับแรก จนกระทั่งลําดับสุดทาย
                   1.3 การระลึกตามตัวแนะ (Cue Recall) คือการบอกสิ่งที่เคยเห็นหรือเรียนรูมาโดยมีตัวชี้แนะ
เปนสิ่งเร้า
          2. การรูจักหรือจำได (Recognition) คือการบอกสิ่งตางๆ ไดเมื่อสิ่งที่เคยเรียนรูปรากฏขึ้นอีกครั้ง
          3. การเรียนซ้ำ (Relearning) เปนการจําไดที่เกิดจากการเรียนซ้ำในสิ่งที่ได้เรียนรูไปแล
          4. ความคงทนในการจํา (Retention) หมายถึงความสามารถในการระลึกหรือเรียกสิ่งที่ได เรียนรูจําไดเมื่อเวลาผานไปแลวชวงหนึ่ง (Richards, 1987) ซึ่งในการเรียนการสอนภาษาความคงทนในการจำมักมีผูสนใจไดทําการศึกษาไมาเป็นเสียงคําศัพทโครงสราง หรือกฎเกณฑางๆ ซึ่งคุณภาพของความคงทนในการจําคําศัพทนี้ขึ้นอยูกับคุณภาพของการสอนประสิทธิภาพของคําศัพทและเนื้อหาตลอดจนกิจกรรมตางๆ รวมทั้งความสนใจของ
ผูเรียนเองดวย
          จากแนวคิดที่เกี่ยวกับประเภทของความจําพอสรุปไดาการจํานั้นมีหลายแบบแตกตางกัน ไดแกการระลึกเปนการเรียกใชความจําโดยไมองมีสิ่งใดกระตุน การรูจักหรือจําไดเปนการเรียก ความจําที่อาศัยสิ่งเราที่เกี่ยวของกับสิ่งที่เคยเรียนรูมากอน การเรียนซ้ำเปนการเรียกความจําที่ตองมี การเรียนซ้ำสิ่งที่เคยเรียนและความคงทนในการจําเป็นการเรียกความจำมาใช้ได้หลงจากทิ้งชวงไปแลวในระยะเวลาหนึ่ง

ทฤษฏีเกี่ยวกับการลืม

          1. การเสื่อมลงไป นักจิตวิทยาที่สนับสนุนแนวคิดนี้เชื่อวาขอมูลที่เก็บไวในหนวยความจําจะเสื่อมลง ไปทันทีที่เวลาผานไป ซึ่งโดยปกติคนเราจะลืมสิ่งที่เพิ่งไดทําผานไปทันทีเวนแตจะนึกถึงสิ่งนั้นบอยๆ
          2. การรบกวนกันของขอมูล ทฤษฏีนี้กลาววาการลืมเกิดขึ้นจากการที่มีขอมูลอื่นสอดแทรกเขามาใน ระหวางที่เรากําลังจดจํา การรบกวนกันของขอมูลมีสองประเภทคือ proactive interference และ retroactive interference (Bernstein. 1999 : 206) ซึ่ง proactive interference คือการที่ขอมูลเกาที่เคยเรียนรูมากอนหนา นี้เขามารบกวนการเรียนรูขอมูลใหมที่กําลังเรียนรูสวน retroactive interference คือการที่ขอมูลใหมยอนกลับ ไปรบกวนขอมูลเกาที่เคยเรียนรูมากอน
          3. ความลมเหลวในการกูกลับคืน คือการที่เราไมสามารถกูขอมูลที่บันทึกไวกลับคืนมาไดเนื่องจาก ไมมีสิ่งกระตุนที่เหมาะสมที่จะทําใหเราสามารถกูขอมูลกลับคืนมาได
          4. แรงจูงใจที่จะลืม เปนแรงกระตุนจากภายในที่ผลักดันใหเราลืมสิ่งที่ไมพึงปรารถนาอันเนื่องมาจาก มีการเก็บกดประสบการณและความนึกคิดที่ไมพึงปรารถนาใหอยูในระดับจิตไรสํานึก

ทฤษฎีเกี่ยวกับความสามารถดานความจํา

          ในทางจิตวิทยา ไดมีการกลาวถึงทฤษฎีเกี่ยวกับการจําและการลืมไวหลายทฤษฎี แตที่สําคัญสรุปไดมี 4 ทฤษฎี คือ
          ทฤษฎีความจําสองกระบวนการ (Two – Process Theory of Memory) ทฤษฎีนี้สรางขึ้นโดย
แอตคินสัน และชิฟฟริน (Atkinson and Shiffrin) ในป ค.ศ. 1968 กลาวถึงความจําระยะสั้นหรือความจําทันทีทันใดและความจําระยะยาววา ความจําระยะสั้นเปน ความจําชั่วคราว สิ่งใดก็ตามถาอยูในความจําระยะสั้นจะตองไดรับการทบทวนอยูตลอดเวลามิฉะนั้นความจําสิ่งนั้นจะสลายตัวไปอยางรวดเร็ว ในการทบทวนนั้นเราจะไมสามารถทบทวนทุก สิ่งที่เขามาอยูในระบบความจําระยะสั้น ดังนั้นจํานวนที่เราจําไดในความจําระยะสั้นจึงมีจํากัด การทบทวนปองกันไมใหความจําสลายตัวไปจากความจําระยะสั้น และถาสิ่งใดอยูในความจํา ระยะสั้นเปนระยะเวลายิ่งนาน สิ่งนั้นก็มีโอกาสฝงตัวในความจําระยะยาว ถาเราจําสิ่งใดไดใน 11 ความจําระยะเวลายิ่งนาน สิ่งนั้นก็มีโอกาสฝงตัวในความจําระยะยาว ถาเราจําสิ่งใดไวในความ จําระยะยาวสิ่งนั้นก็จะติดอยูในความทรงจําตลอดไป
(ชัยพร วิชชาวุธ, 2520 : 71)
          ทฤษฎีการสลายตัว (Decay Theory) เปนทฤษฎีการลืม กลาววา การลืมเกิด ขึ้นเพราะการละเลยในการทบทวน หรือไมนําสิ่งที่จะจําไวออกมาใชเปนประจํา การละเลยจะ ทําใหความจําคอย ๆ สลายตัวไปเองในที่สุด ทฤษฎีการสลายตัวนี้นาจะเปนจริงในความจํา ระยะสั้น เพราะในความจําระยะสั้นหากเรามิไดจดจอหรือสนใจทบทวนในสิ่งที่ตองการจะจํา เพียงชั่วครูสิ่งนั้นจะหายไปจากความทรงจําทันที (Adams, 1967 : 23 - 25)
          ทฤษฎีการรบกวน (Interference Theory) เปนทฤษฎีเกี่ยวกับการลืมที่ยอมรับ กันในปจจุบันทฤษฎีหนึ่ง ทฤษฎีนี้ขัดแยงกับทฤษฎีการสลายตัว โดยกลาววาเวลาเพียงอยาง เดียวไมสามารถทําใหเกิดการลืมได แตสิ่งที่เกิดในชวงดังกลาวจะเปนสิ่งคอยรบกวนสิ่งอื่น ๆ ในการจํา การรบกวนนี้ แยกออกเปน 2 แบบ คือ การตามรบกวน (Proactive Interference) หรือการรบกวนตามเวลา หมายถึง สิ่งเกา ๆ ที่เคยประสบมาแลวหรือจําไดอยูแลวมารบกวน สิ่งที่จะจําใหม ทําใหจําสิ่งเราใหมไมคอยได อีกแบบของการรบกวนก็คือ การยอนรบกวน (Retroactive Interference) หรือการรบกวนยอนเวลา หมายถึงการพยายามจําสิ่งใหมทําใหลืม สิ่งเกาที่จําไดมากอน (Adams, 1980 : 299 - 307) จึงกลาวไดวา ทฤษฎีการลืมนี้ เกิดขึ้นโดย ความรูใหมไปรบกวนความรูเกา ทําใหลืมความรูเกาและความรูเกาก็สามารถไปรบกวนความรู ใหมไดดวย
          ทฤษฎีการจัดกระบวนการตามระดับความลึก (Depth – of – Processing Theory) ทฤษฎีนี้สรางขึ้นโดย เครก และลอกฮารท (Craik and Lockhart) ในป 1972 ซึ่ง ขัดแยงกับความคิดของ แอตคินสัน และชิฟฟริน ที่กลาววา ความจํามีโครงสรางและตัวแปร สําคัญของความจําในความจําระยะยาวก็คือ ความยาวนานของเวลาที่ทบทวนสิ่งที่จะจําใน ความจําระยะสั้น แตเครก และลอกฮารท มีความคิดวา ความจําไมมีโครงสรางและความจําที่ เพิ่มขึ้นไมไดเกิดขึ้นเพราะมีเวลาทบทวนในความจําระยะสั้นนาน แตเกิดขึ้นเพราะความซับ ซอนของการเขารหัสที่ซับซอน หรือการโยงความสัมพันธของสิ่งที่ตองการจํา ยอมอาศัยเวลา แตเวลาดังกลาวไมใชเพื่อการทบทวน
แตเพื่อการระลึกหรือซับซอนของการกระทํากับสารที่เขา ไป (การเขารหัส) ถายิ่งลึก (ซับซอน) ก็จะยิ่งจําไดมาก
นั่นคือตองใชเวลามากดวย (ไสว เลี่ยม แกว, 2528 : 20 - 23)

การลืม (forgotting)
การลืมมีสาเหตุหลายประการ คือ
1. การไม่ได้ลงรหัส (Encoding Failure) การลืมอาจเกิดขึ้นเพราะไม่ได้มีการจำตั้งแต่แรก เช่น บ้านเพื่อนเราที่เราเคยไปเที่ยวหันหน้าไปทางทิศไหน เราอาจจะตอบไม่ได้ทั้งๆที่เคยไป เพราะไม่ได้จำ หรือถามว่าเรากระพริบตานาทีละกี่ครั้ง บ้านของเรามีประตูและหน้าต่างกี่บาน ทั้งที่เป็นบ้านของเราเองแต่เราก็อาจจะตอบไม่ได้ในทันที เพราะไม่คิดจะจำมาก่อนนั่นเอง
2. เสื่อมสลาย (Decay) เป็นกาารลืมสืบเนื่องจากเกิดจากการเสื่อมสลายของความจำซึ่งเกิดจากกาลเวลาที่นานออกไป  ความจำเก่าๆ อาจถูกแทนที่ได้ความจำที่ใหม่กว่า หรือข้อมูลที่เราจำ ไม่ได้ถูกนำมาใช้ ทำให้ความจำอ่อนลงไป
3. การลืมเพราะขึ้นอยู่กับสิ่งชี้แนะ (Cue-Dependent Forgetting) บางเรื่องเราจำได้ แต่จำได้แบบคลับคล้ายคลับคลา ไม่สามารถนำมาใช้ได้หรือไม่สามารถบอกได้ถูก เหมือนติดอยู่ที่ริมฝีปาก  แต่ถ้ามีสิ่งใดมากระตุ้นความจำ เช่น มีคนพูดเรื่องที่ใกล้เคียง หรือมีการบอกใบ้ ก็จะนำมาใช้ได้หรือนึกออก
4. การรบกวน (Interfere) บางทีการเรียนรู้ใหม่รบกวนก็รบกวนความรู้เก่า ทำให้ความรู้เก่าหายไป  บางทีความเก่าก็รบกวนความรู้ใหม่ ทำให้เราสับสน จำสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ไม่ได้  สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นความลืมที่เกิดจากการรบกวน
5. การเก็บกด (Repression) คนเรามักจะจดจำสิ่งดีๆหรือสิ่งที่ทำให้เรามีควรามสุขในชีวิตได้มากกว่าเหตุการณ์ที่เราไม่ชอบ เรื่องที่น่าละอาย ไม่ปรารถนาจะให้เกิดขึ้น เนื่องจากเรามักจะไม่คิดถึงเหตุการณ์ที่เราไม่ชอบ เป็นการจูงใจเพื่อลืมความจำที่เจ็บปวดหรือความละอายจะถูกเก็บกดให้อยู่ในจิตใต้สำนึก ในลักษณะที่ไม่อยากจะคิดถึงหรือหลีกเลี่ยงที่จะคิดถึงมัน เป็นต้น
นอกจากนี้ การลืมอาจเกิดขึ้นได้ใน ลักษณะ คือ  สาเหตุทางฝ่ากาย เช่น เกิดอุบัติเหตุสมองถูกกระทบกระเทือน เป็นโรคอัลไซเมอร์  หรือสาเหตุทางฝ่ายจิตใจ  เช่น ผู้ป่วยมีเรื่องไม่สบายใจอย่างรุนแรง อาจจะลืมเรื่องราวของตนบางส่วนเป็นช่วงๆ หรือลืมเรื่องราวทั้งหมดของตน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเรารู้แล้วว่าการจำการลืมเป็นเรื่องที่ซับซ้อนของสมองมนุษย์ก็อย่าเป็นเครียดหรือวิตกกังวลกับภาวะการจำการลืมของตนเอง เพราะคงจะช่วยอะไรไม่ได้มากนอกจากซ้ำเติมเหตุการณ์ให้เลวร้ายหรือทุกข์หนักขึ้นไปอีก  ในทางพระพุทธศาสนาก็มีคำสอนอยู่แล้วว่า ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนตกอยู่ภายใต้ไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)  เบญจขันธ์ทั้งห้าที่ประกอบเป็นตัวตนของเรา (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)  ก็ล้วนตกอยู่ในลักษณะเช่นเดียวกัน  “สัญญ (memory or recognition)ในทางพระพุทธศาสนาก็มีลักษณะคล้ายๆกับ ความจำในความหมายของนักจิตวิทยานั่นเอง...


http://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/teng0952ah_ch2.pdf

http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010/6707/9/Chapter2.pdf

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ปัญหาการเรียนคณิตศาสตร์

การขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ (Lack of Critical Thinking) เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทยในปัจจุบัน เด็กปฐมวัยเกิดมาพร้อมกับเซลล์สมอง 1 แสนล้านเซลล์ที่พร้อมได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม เพื่อให้มีพื้นฐานของสมองที่เอื้อต่อการเรียนรู้โดยสัมพันธ์กับการพัฒนาด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ จิตใจ และด้านสังคม การคิดเป็นหัวใจของการพัฒนาในทุกๆด้าน เด็กปกติและเด็กพิเศษทุกคนควรได้รับการประเมินและส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อให้เขาประสบความสำเร็จและก้าวหน้าในการเรียนรู้และอยู่รอดทั้งในวันนี้และในอนาคต
ในปัจจุบัน ประเทศไทยค่อนข้างตื่นตัวในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะในส่วนของภาคการศึกษาที่เร่งพัฒนาคุณภาพของนักเรียนไทย และการเรียนการสอนให้ทัดเทียมกับประเทศในอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาความรู้ด้านวิชาการ และทักษะภาษาเพื่อการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ ซึ่งทักษะนี้เป็นหัวใจของการพัฒนาของมนุษย์ ศาสตร์แห่งการศึกษาด้านประสาทวิทยาในช่วงสิบปีที่ผ่านมา สร้างความตื่นตัวแก่ภาคการศึกษาที่ต่างหันมาให้ความสนใจในการพัฒนาสมองของมนุษย์ในช่วงปฐมวัยสูงที่สุด ด้วยเหตุที่การพัฒนาสมองเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านอารมณ์ จิตใจ สังคม สติปัญญา และการเรียนรู้ โดยเฉพาะช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 ขวบ ซึ่งเป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่น ๆ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่รอยเชื่อมต่อของเซลล์สมองแต่ละเซลล์จะถูกสร้างขึ้น และมีการเชื่อมโยงของเซลล์สมองมากถึงพันล้านนิวตรอน
ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในเด็ก จึงต้องให้ความสำคัญต่อการกระตุ้นการพัฒนาสมองอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนกระทั่งเด็กคลอด และพัฒนาต่อไปจนอายุ 3 ปี ซึ่งเป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ และสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องจนถึง 7 ปี หากมีการกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้งห้า ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การได้กลิ่น การได้ยิน การได้รับ และการได้สัมผัส การทำงานของสมองจะส่งกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นใยของเซลล์ประสาท และทำให้เกิดการทำงานเชื่อมประสานเส้นใยสมองและจุดเชื่อมโยงต่างๆ ซึ่งเป็นผลทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆหรือต่อยอดองค์ความรู้เพิ่มขึ้น ทำให้เด็กได้เกิดการพัฒนาทักษะการตัดสินใจ การแก้ปัญหา รวมถึงด้านวิชาการอย่างรอบด้าน

ปัญหาการขาดทักษะการคิดวิเคราะห์มีลักษณะอย่างไร? 

ทักษะการคิดวิเคราะห์เบื้องต้นมีอยู่แล้วในตัวเด็กแต่ละคน จะมีมากมีน้อยก็ขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม สิ่งแวด ล้อม การดูแลเลี้ยงดูของพ่อแม่ และพรสวรรค์ที่แต่ละคนได้รับพร้อมกับการเกิดมาเป็นมนุษย์
ปัญหาการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ในเด็กค่อนข้างซับซ้อน และอาจต้องใช้การสังเกตร่วมกันไปกับพัฒนาการด้านอื่นๆ ผู้ ใหญ่ที่อยู่ใกล้ชิดเด็กอาจต้องสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกในลักษณะต่างๆ ดังนี้
  • เด็กมีการพัฒนาการทางร่างกายที่ไม่เป็นไปตามวัย ค่อนข้างช้า หรือเด็กยังคงมีพฤติกรรมเหมือนทารกทั้งๆที่เรียนอยู่ระ ดับอนุบาลแล้ว
  • เด็กขาดทักษะในการสื่อสาร หรือมีทักษะการสื่อสารอยู่ในระดับต่ำ โดยไม่สามารถที่จะคิดเชื่อมโยงในการสร้างประ โยคสื่อสารง่ายๆได้ พูดไม่ชัด หรือไม่พูดเลย
  • เด็กมีทักษะระดับต่ำในการเรียนรู้องค์ความรู้ใหม่ๆ และมีทักษะการช่วยเหลือตนเอง รวมถึงทักษะดูแลตนเองตามวัยในระดับต่ำ
  • เด็กไม่สามารถใช้ความคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงในการจับคู่รูปทรง ประเภท และสีของสิ่งของได้ ไม่สามารถแยกความเหมือนและความต่างของสิ่งของได้ รวมไปถึงไม่สามารถเข้าใจและใช้กระบวนการคิดอย่างเป็นขั้นเป็นตอนได้
  • เด็กไม่สามารถบอกความต้องการในสิ่งที่อยากรู้ได้ ไม่สามารถบอกได้ว่าตนเองรู้อะไร หรือต้องการรู้อะไร อาจกล่าวได้ว่าเด็กไม่มีกระบวนการสงสัยใคร่รู้เลย
  • เด็กมีสมาธิต่ำ อยู่ไม่นิ่ง รวมไปถึงมีทักษะในการปรับตัวเข้ากับสถานที่หรือสถานการณ์ใหม่ๆอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้น เมื่ออยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ใหม่ๆที่ไม่คุ้นชิน มักแสดงพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ออกมามากกว่าปกติหากพบว่าเด็กอนุบาลมีอาการที่กล่าวไปแล้วมากกว่ากึ่งหนึ่งจาก 3 ใน 6 ข้อ ถือว่าเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข เพื่อให้ปัญหาบรรเทาลง และช่วยให้เด็กมีความพร้อมก่อนการเข้าโรงเรียนต่อไป

ปัญหาการขาดทักษะการคิดวิเคราะห์มีสาเหตุมาจากอะไร?

ปัญหาการขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ในเด็กนั้น ในทางการแพทย์ไม่ได้ถือว่าเป็นโรคและก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต จึงถือได้ว่าเป็นเพียงแค่ความผิดปกติประเภทหนึ่ง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกตินี้มีหลายมูลเหตุ ซึ่งไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัด แต่สามารถแบ่งคร่าวๆได้เป็นสามมูลเหตุ ดังนี้
  • เกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นเอง เช่น ความผิดปกติของโครโมโซมหรือพันธุกรรม ความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีความผิดปกติทางสายตา การได้ยิน จึงมีส่วนทำให้เกิดผลกระทบต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ได้ หรืออาจเป็นโรคบางอย่าง เช่น “Pervasive Developmental Disorders” ความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้าน แสดงอาการอย่างชัดเจนในวัยเด็ก ก่อให้เกิดพัฒนาการทางด้านความสัมพันธ์ทางสังคม การสื่อสาร และรวมไปถึงทักษะการคิดวิเคราะห์ ไม่เป็นไปตามปกติ เป็นต้น
  • เกิดจากการดูแลช่วงที่อยู่ในครรภ์มารดา เช่น ระหว่างตั้งครรภ์ หากมารดารับประทานอาหารไม่เพียงพอหรืออาหารที่ไม่มีประโยชน์ หรือมีอารมณ์เครียด หงุดหงิด หรืออยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษมีสารพิษ เช่น สารตะกั่ว อาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางสมองและการคิดวิเคราะห์ได้
  • เกิดจากการดูแลช่วงที่เพิ่งคลอด เช่น หากมีการคลอดก่อนกำหนด เด็กขาดสารอาหารหรือมีปัญหาเรื่องความผิดปกติของน้ำหนักตัวที่มากเกินไป หรืออยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีสารพิษและได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกาย เช่น สารตะกั่ว มีระบบการเผาผลาญผิดปกติ อาจส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางสมองและการคิดวิเคราะห์ได้

การช่วยเหลือเด็กที่ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์มีความสำคัญอย่างไร?

ทักษะการคิดวิเคราะห์เป็นหัวใจของพัฒนาการของมนุษย์ ด้วยเหตุที่มนุษย์เราต่างจากสัตว์เพราะเรามีกระบวนการคิดตั้งแต่กำเนิด และสามารถพัฒนาทักษะทางความคิดได้อย่างไร้ขีดจำกัด ปัญหาที่เราอาจจะเคยได้ยินว่า “เด็กไทยคิดไม่เป็น” ไม่ ใช่เรื่องไกลตัวเลยสักนิด ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาสังคมมากมาย เช่น เด็กสาวต้องการให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเพื่อน จึงทำ ตามสิ่งที่กลุ่มเหล่านั้นนิยมทำกันโดยขาดกระบวนการ “คิดวิเคราะห์” “ไม่ได้ยั้งคิด” “ไม่ได้ไตร่ตรอง” ขาดการพิจารณาว่า “การกระทำ” นั้นๆควรหรือไม่ควรกระทำ ดังนั้น การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จึงเป็นสิ่งจำเป็น และจะช่วยส่งเสริมการปูพื้นฐานทางสมองที่ดีให้แก่เด็กต่อไปในทุกด้าน โดยเฉพาะช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 3 ขวบเป็นช่วงที่สมองของเด็กมีการเติบโตมาก กว่าช่วงวัยอื่นๆ เพราะช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่รอยเชื่อมต่อของเซลล์สมองแต่ละเซลล์จะถูกสร้างขึ้น และมีการเชื่อมโยงของเซลล์สมองนับพันล้านนิวตรอน จึงอาจกล่าวได้ว่า
  • การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาการคิดวิเคราะห์ จะทำให้เด็กพัฒนาความคิดให้รู้จักคิดเป็น วิเคราะห์ได้ว่าอะไรควรทำ หรือไม่ควรทำ และรู้จักแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่พึงควรปลูกฝังในการดำเนินชีวิตในสังคม อีกทั้งยังเป็นการทำให้เด็กพัฒนาความคิดจนต่อยอดองค์ความรู้ให้กับตนเองได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการเรียนรู้ระยะยาวในด้านวิชาการ และเป็นการส่งเสริมให้เด็กฉลาดขึ้นต่อไป
  • การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาการคิดวิเคราะห์ จะทำให้เด็กเกิดความสามารถในการคิดย้อนกลับว่าอะไรคือสาเหตุ (Cause) อะไรคือผล (Effect) ด้วยการตอบคำถามว่า อะไรเกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างเรื่องราวต่างๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีตรรกะ มีเหตุมีผล ในการดำเนินชีวิตในสังคมต่อไป

พ่อแม่ผู้ปกครองจะแก้ไขปัญหาเด็กขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ได้อย่างไร?

เนื่องจากปัญหานี้ไม่ใช่โรคที่เป็นอันตรายถึงชีวิต เป็นเพียงความผิดปกติที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น พ่อแม่จะต้องมีกำลังใจที่ดี ปรับทัศนคติที่มีต่อปัญหาของเด็กก่อน พ่อแม่จะต้องมองโลกในแง่ดี ใจเย็นและอดทนต่อเด็ก พยายามไม่หงุดหงิด และต้องเข้าใจว่า เด็กที่มีปัญหาดังกล่าว ต้องการเวลามากในการเรียนรู้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง พ่อแม่จึงต้องให้เวลาเขา โดยไม่เร่งรัด อดทนที่จะพูดซ้ำๆ บอกประโยคนั้นๆซ้ำๆกับเด็ก เคล็ดลับที่พ่อแม่สามารถคลี่คลายปัญหา ควรใช้วิธีการดังต่อไปนี้
  • การดูแลเรื่องอาหารการกิน รับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ ให้ไม่ขาดสารอาหารโดยเหมาะสมกับช่วงอายุของเด็ก ว่าเด็กควรได้รับสารอาหารอะไร ควรเพิ่มสารอาหารอะไร อีกทั้งจะต้องเลี่ยงอาหารขยะที่ไม่มีประโยชน์มีแต่โทษต่อร่างกายและระบบสมอง อันมีผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ให้เด็กได้เล่นของเล่นส่งเสริมพัฒนาการทางสมอง เด็กๆมักจะเรียนรู้ผ่านการเล่น ปัจจุบันมีของเล่นที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหามากมาย เช่น กล่องหยอดบล็อกรูปทรงต่างๆ เป็นต้น
  • เล่านิทานให้ลูกฟังโดยใช้หนังสือภาพ จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของภาษาและการสื่อสาร กระตุ้นทักษะการคิด จินตนาการ สมาธิ การเห็นภาพผ่านตา ซึ่งหากมีการเล่าเรื่องจะทำให้เด็กคิดตามได้ง่ายขึ้น
  • การสอนโดยบอกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้น เด็กเข้าใจกระบวนการคิดแบบเป็นขั้นเป็นตอนได้ค่อนข้างยาก อย่างเช่น ถ้าบอกให้ไปแต่งตัว เด็กอาจไม่เข้าใจว่าต้องทำอะไรก่อน พ่อแม่จึงต้องค่อยๆสอน ต้องค่อยๆบอกรายละเอียดขั้นตอนว่า ต้องสวมเสื้อ ติดกระดุม สวมกางเกง รูดซิป ใส่รองเท้า เป็นต้น อีกทั้งอาจจะต้องมีการพูดซ้ำๆบ่อยๆเพื่อให้เด็กจำได้
  • การสอนเสริมควบคู่ไปกับโรงเรียนอนุบาล พ่อแม่ต้องสอนเสริมเด็กอีกครั้งที่บ้านเพื่อเป็นการย้ำ ทำซ้ำ อีกครั้ง โดยพ่อแม่ต้องให้เวลาในการพูดคุยกับลูกอยู่เสมอ เปิดโอกาสให้ลูกได้ถามหรือตอบเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนมา อาจเริ่มจากหัวข้อว่า วันนี้ไปโรงเรียนสนุกไหม เรียนเรื่องอะไรบ้าง การถามบ่อยๆเป็นการกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะการคิดรูปแบบหนึ่งด้วย
  • การสร้างสิ่งแวดล้อมต่างๆที่ปลอดภัยเหมาะสมต่อการเรียนรู้ เพื่อให้เขาได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวอย่างอิสระ โดยไม่ปิดกั้นสมองของเด็กเติบโต เพราะการได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ สภาพแวดล้อมต้องปลอดภัยจากปลั๊กไฟ มีด ของมีคมและของที่จะก่อ ให้เกิดอันตรายต่างๆ เพื่อให้เด็กได้ลงมือสำรวจเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยปลอดภัย เป็นการกระตุ้นทักษะการคิดและแก้ปัญหาได้ดี

เกร็ดความรู้เพื่อครู

ครูอนุบาลมีส่วนช่วยเสริมสร้างให้เด็กปฐมวัยมีทักษะและการพัฒนาทางความคิดได้โดยใช้เคล็ดลับ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
  • ดูแลเรื่องอาหารซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อเด็กปฐมวัย เพราะเด็กวัยนี้เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต ทั้งทางร่างกายและสมอง ครูจะต้องจัดให้เด็กได้รับประทานอาหารอย่างเพียงพอและมีคุณค่าทางโภชนาการ
  • จัดสิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ให้เหมาะสมกับการเรียนรู้อย่างปลอดภัย อีกทั้งควรจะทำให้น่าสนใจและกระตุ้นการถามตอบกับเด็กเสมอ
  • ตัวครูเองเป็นสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ของเด็กด้วยเช่นกัน จึงต้องใช้การสื่อสารที่เข้าใจง่าย เช่น ใช้คำพูดง่ายๆ ประโยคไม่ซับ ซ้อน เป็นต้น
  • จัดหาอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับหลักสูตรและกิจกรรมและมีความน่าสนใจ อาจจัดกิจกรรมง่ายๆให้ได้เคลื่อนไหวร่างกายเข้ากับบทเรียนนั้นๆด้วยตัวเอง หรือใช้สื่อหนังสือภาพประกอบการเล่าเรื่อง เพื่อเสริมกระบวนการคิด เป็นต้น