( http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress ) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทำให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วเกิดแรงจูงใจในการเรียน และช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้วีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ(Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเตอร์เน็ต เหล่านี้เป็นต้น
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2542 : 5) กล่าวไว้ว่า เป็นการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ยังอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษาเพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม ให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สมบูรณ์ สงวนญาติ (2542 : 14) กล่าวไว้ว่าวิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ในทางการศึกษาซึ่งแปลกไปจากเดิมโดยอาจได้มาจากการค้นพบวิธีการใหม่ๆ หรือปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสม โดยได้มีการทดลองพัฒนาจนเป็นที่น่าเชื่อถือได้ว่า มีผลดีในทางปฎิบัติและสามารถทำให้ระบบการศึกษาดำเนินไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กล่าวโดยสรุป “นวัตกรรมทางการศึกษา” หมายถึง แนวคิด วิธีการ สื่อ สิ่งประดิษฐ์ทางการศึกษา ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อนหรือเคยทำมาแล้วในอดีตแต่ได้มีการรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่หรือมีการพัฒนามาจากของเก่าที่มีอยู่เดิม
เอกสารอ้างอิง
บุญเกื้อ ควรหาเวช.(2542).นวัตกรรมการศึกษา.เจริญวิทย์การพิมพ์.กรุงเทพฯ
สมบูรณ์ สงวนญาติ.(2534). นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา.เทคโนโลยีทางการเรียนการสอน.
การศาสนา.กรุงเทพฯ
http://ceit.sut.ac.th/km/wordpress .เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2554
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น