สมบูรณ์ สงวนญาติ (2542:44) ได้กล่าวไว้ว่า การจำแนกประเภทของสื่อการสอน เพื่อให้ครอบคลุมสื่อทุกประเภท ควรจะแบ่งออกเป็นสามประเภทใหญ่ๆ คือ
1.สื่อประเภทโสต – ทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials ) แบ่งเป็น 6 จำพวก
- รูปภาพ ได้แก่ ภาพเขียน ภาพถ่าย ภาพพิมพ์
- วัสดุลายเส้น ได้แก่ แผนภูมิ แผนสถิติ แผนภาพ ภาพโฆษณา การ์ตูน แผนที่ ลูกโลก
- วัสดุสามมิติ ได้แก่ ของจริง หุ่นจำลอง ของตัวอย่างของล้อแบบหุ่นมือ
- วัสดุประกอบแผ่นป้าย ได้แก่ ตัวแสดงที่ใช้กับแผ่นป้ายนิเทศ แผ่นป้ายผ้าสำลี แผ่นป้ายแม่เหล็ก แผ่นป้ายไฟฟ้า
- วัสดุสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการเรียนการสอน
- วัสดุประกอบการทดลอง ได้แก่ ตัวยาและสื่อราคาเยาที่ใช้ในการทดลอง
2.สื่อประเภทโสต – ทัศนอุปกรณ์ (Audio Visual Equipments ) แบ่งเป็น 2 จำพวก
- จำพวกเครื่องนายและเครื่องเสียง ประกอบด้วยตัวเครื่อง(Hardware) ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์
เครื่องฉายฟิล์มลูฟ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายฟิล์มสตริฟ เครื่องฉายภาพทึบแสง เครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เครื่องฉายภาพจุลทรรศน์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เครื่องเทปบันทึกเสียง เครื่องเทปบันทึกภาพ เครื่องขยายเสียง เครื่องรับวิทยุและเครื่องรับโทรทัศน์ ส่วนวัสดุที่ใช้กับเครื่อง(Software) ได้แก่ ฟล์มภาพยนตร์ ฟิล์มลูฟ สไลด์ ฟิล์มสตริฟ ภาพทึบแสง แผ่นโปรงใส กระจกสไลด์ แผ่นเสียง เส้นเทปบันทึกเสียง เส้นเทปบันทึกภาพ ข้อความที่พูด รายการวิทยุ และรายการโทรทัศน์
-จำพวกเครื่อง (Apparatus) ได้แก่ เครื่องมือวัด เครื่องมือตรวจ เครื่องมือแสดงและเครื่องมือทดลองประเภทต่างๆ ที่มีราคาค่อนข้างแพง
3.สื่อประเภทเทคนิควิธีการ แบ่งออกเป็น 2 จำพวก
-จำพวกกิจกรรม ได้แก่ การทดลอง การเล่นละคร การแสดงบทบาท การทัศนาจร การสาธิต นิทรรศการ และกิจกรรมในรูปแบบอื่นๆ
-จำพวกบทเรียนแบบโปรแกรม ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป เครื่องช่วยสอน ชุดการสอน และโปรแกรมการเรียนรู้แบบอื่นๆ
สำเภา วรางกรู (2523:112) ได้จำแนกสื่อการสอนเป็น 3 ประเภทคือ
1.วัสดุเครื่องมือที่ไม่ต้องฉาย หมายถึง วัสดุหรือเครื่องมือที่ไม่ต้องอาศัยเครื่องฉายในการสอน แต่สามารถนำเสนอได้ด้วยตัวของมันเอง ได้แก่ รูปภาพ แผนที่ หุ่นจำลอง ฯลฯ ตลอดจนกิจกรรมต่างๆ เช่น การสาธิต นิทรรศการ ทัศนะศึกษา เป็นต้น
2.วัสดุและเครื่องมือที่ต้องฉาย หมายถึง วัสดุหรือเครื่องมือที่ต้องอาศัยเครื่องฉายภาพข้ามศรีษะ เป็นต้น
3.โสตวัสดุและอุปกรณ์ หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับเสียงสามารถรับรู้ได้โดยการฟัง เช่น เครื่องบันทึกเสียงและเทป เครื่องเล่นแผ่นเสียงและแผ่นเสียง เครื่องขยายเสียง เครื่องรับวิทยุ เป็นต้น
วาสนา ชาวหา (2533:13) ได้จำแนกสื่อการสอนเป็น 3 ประเภทดังนี้
1.ประเภทวัสดุ (Software or Material) บางครั้งก็เรียกว่า “สื่อเล็ก (Small Media)” เป็นสื่อการสอนประเภทสิ้นเปลือง เสียหายได้ง่ายและเป็นสื่อบรรจุเนื้อหาสาระ เรื่องราวหรือความรู้ไว้ในลักษณะต่างๆ เช่น สไลด์ บรรจุเรื่องราวไว้ในลักษณะของภาพนิ่ง หนังสือบรรจุเรื่องราวไว้ในลักษณะของตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ เป็นต้น
2.ประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์ (Hardware or Equipment) บางครั้งก็เรียกว่า “สื่อใหญ่ (Big Media)” ได้แก่ เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เป็นต้น สื่อการสอนประเภทนี้เป็นเพียงเครื่องมือหรือตัวกลางซึ่งเป็นทางผ่านของความรู้หรือเรื่องราวเท่านั้นโดยตัวมันเองแล้วไม่ได้บรรจุเนื้อหาสาระ ความรู้เรื่องราวใดๆ ไว้เลยจึงไม่สามารถจะสื่อความหมายไปยังผู้เรียนได้ แต่จะต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุ (Software) มาใช้ควบคู่กันไปจึงจะสามารถเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียนในลักษณะต่างๆได้
3. ประเภทเทคนิคและวิธีการ (Technique and Method) สื่อการสอนประเภทนี้ไม่จัดอยู่ในประเภทวัสดุหรือเครื่องมือ แต่ต้องอาศัยสื่อประเภทวัสดุหรือเครื่องมืออย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างมาใช้ร่วมกันในลักษณะกิจกรรมหรือวิธีการ เช่น การแสดงละคร การศึกษานอกสถานที่ นิทรรศการ การสาธิต เป็นต้น
กล่าวโดยสรุป “ประเภทของสื่อการสอน” แบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.สื่อประเภทวัสดุ (Software) หมายถึง สิ่งที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเองซึ่งจำแนกย่อยได้เป็น 2 ลักษณะคือ
1.1 วัสดุประเภทที่สามารถถ่ายความรู้ได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผนที่ ลูกโลกรูปภาพ หุ่นจำลอง ฯลฯ
1.2 วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง จำเป็นจะต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นช่วย เช่น แผ่นเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ สไลด์ ฯลฯ
2.สื่อประเภทอุปกรณ์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่เป็นตัวผ่านที่ทำให้ข้อมูลหรือความรู้ที่อยู่ภายในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมาใช้หรือเรียนรู้ได้ เช่น เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นเสียง เป็นต้น
3. สื่อประเภทเทคนิคและวิธีการ (Techniques and Methods) หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเป็นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์ แต่มีสามารถใช้สื่อวัสดุและอุปกรณ์เหล่านั้นมาใช้ช่วยในการดำเนินงานได้ เช่น การจัดการ การสอนแบบจุลภาค การสาธิต เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
กมล เวียสุวรรณและนิตยา เวียสุวรรณ .(2539). แนวคิดการพัฒนาสื่อการเรียนการสอน. ต้นอ้อแกรมมี่จำกัด.
กรุงเทพฯ.
กิดานันท์ มลิทอง.(2531).เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ
วาสนา ชาวหา.(2533).สื่อการเรียนการสอน.โอเดียนสโตร์.กรุงเทพฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น