วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ

                (http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm ) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม
                (http://th.wikipedia.org/wiki ) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที (อังกฤษ: Information technology หรือ IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี             
                ชุมพล ศฤงคารศิริ (2537:167) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ช่วยให้นักวิเคราะห์ระบบสามารถสร้างระบบสารสนเทศที่ทันสมัยและมีความสลับซับซ้อนได้อย่างไรก็ตามก่อนที่ นักวิเคราะห์ระบบจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนั้น เขาจะต้องเข้าใจถึงส่วนประกอบพื้นฐานและหน้าที่หลักของระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลเสียก่อน
                ส่วนประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ ได้แก่ หน่วยประมวลผลกลาง  ( Central proessing unit : CPU) ซึ่งgซึ่งเป็นตัวสำคัญที่สุดและเป็นหัวใจของส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ ( Computer Configuration) นักวิเคราะห์ระบบอาจไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องวงจรภายในของ CPU
                สวัสดิ์  โพธิวัฒน์ (2542:2) ได้กล่าวไว้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากภาษาอังกฤษว่า Information Technology และ มีผู้นิยมเรียกทับศัพท์ ย่อว่า IT
สุชาดา  กิระนันท์ (2541:23) ให้ความหมายว่าหมายถึงเทคโนโลยีทุกด้านที่เข้ามาร่วมกันในกระบวนการจัดเก็บสร้าง และสื่อสารสนเทศ
วาสนา  สุขกระสานติ (2541:6-1) กล่าวถึงความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศว่า หมายถึงกระบวนการต่างๆ และระบบงานที่ช่วยให้ได้สารสนเทศตามที่ต้องการ
ลูคัส (Lucas,Jr.1997:7) กล่าวว่าเทคโนโลยีสารสนเทศจะอ้างถึงเทคโนโลยีทุกชนิดที่ประยุกต์เพื่อใช้ในการประมวลผล จัดเก็บ และส่งผ่านสารนิเทศต่างๆให้อยู่ในรูปของอิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีหลักสองขาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีโทรคมนาคม
โดยทั่วไป หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการสร้าง การจัดการ การประมวลผลข้อมูลและส่งผ่านสารสนเทศ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ตลอดจนเทคโนโลยีทั้งหลายที่เกี่ยวกับการแสดงสารสนเทศ โดยใช้ระบบดิจิตอล (ชุม เทียม ทินกฤต,2540)   

ลักษณะสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ      
                ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศในด้านที่มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านต่าง ๆ ของผู้คนไว้หลายประการดังต่อไปนี้
ประการที่หนึ่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้สังคมเปลี่ยนจากสังคมอุตสาหกรรมมาเป็นสังคมสารสนเทศ
ประการที่สอง เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ระบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจของโลกผูกพันกับทุกประเทศ ความเชื่อมโยงของเครือข่ายสารสนเทศทำให้เกิดสังคมโลกาภิวัฒน์
ประการที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้องค์กรมีลักษณะผูกพัน มีการบังคับบัญชาแบบแนวราบมากขึ้น หน่วยธุรกิจมีขนาดเล็กลง และเชื่อมโยงกันกับหน่วยธุรกิจอื่นเป็นเครือข่าย การดำเนินธุรกิจมีการแข่งขันกันในด้านความเร็ว โดยอาศัยการใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวสนับสนุน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ง่ายและรวดเร็ว 
ประการที่สี่ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเทคโนโลยีแบบสุนทรียสัมผัส และสามารถตอบสนองตามความต้องการการใช้เทคโนโลยีในรูปแบบใหม่ที่เลือกได้เอง
ประการที่ห้า เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา
ประการที่หก เทคโนโลยีสารสนเทศก่อให้เกิดการวางแผนการดำเนินการระยะยาวขึ้น อีกทั้งยังทำให้วิถีการตัดสินใจ หรือเลือกทางเลือกได้ละเอียดขึ้น
                เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทที่สำคัญในทุกวงการ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโลกด้านความเป็นอยู่ สังคม เศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเมือง ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาต่าง ๆ
               
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ              
     ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารโทรคมนาคม  บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาการศึกษา    
            1. เทคโนโลยีที่เข้ามามีส่วนช่วยในเรื่องการเรียนรู้  ปัจจุบันมีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น  ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, ระบบมัลติมีเดีย, ระบบวิดีโอออนดีมานด์วิดีโอเทเลคอนเฟอเรนซ์  และอินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น ระบบเหล่านี้เป็นระบบสนับสนุนการรับรู้ข่าวสารและการค้นหาข้อมูลข่าวสารเพื่อการเรียนรู้
            2. เทคโนโลยีที่เข้ามาสนับสนุนการจัดการศึกษา ในการจัดการศึกษาสมัยใหม่จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลข่าวสารเพื่อการวางแผนการดำเนินการ  การติดตาม  ประเมินผลคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคม 
            3. เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้การสื่อสารระหว่างบุคคล  เกือบทุกวงการทั้งทางด้านการศึกษาจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  ผู้เรียนกับผู้เรียน  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการเรียนการสอน และการดำเนินงานในหลายด้าน ทั้งนี้โดยอาศัยเทคโนโลยีการสื่อสาร   การดำเนินงานและเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล เช่น การใช้โทรศัพท์ โทรสาร เทเลคอนเฟอเรนส์ และไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
           กล่าวโดยสรุป “เทคโนโลยีสารสนเทศ” จะครบคลุมถึงเทคโนโลยีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผลสืบค้น เครือข่ายสื่อสาร ข้อมูลอุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม เป็นต้น


เอกสารอ้างอิง
                ชุมพล  ศฤงคารศิริ.(2537).ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ.ป สัมพันธ์พาณิชย์.กรุงเทพฯ
                สวัสดิ์  โพธิวัฒน์.(2542).เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้.กรุงเทพฯ
                http://th.wikipedia.org/wik  เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มิถุนายน 2554
                http://www.kmutt.ac.th/av/HTML/techno/note.htm  เข้าถึงเมื่อ วันที่ 16 มิถุนายน 2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น