วันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gagne’s eclecticism)

                (http://www.novabizz.com/Learning_Cognitive.htm)  ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า   แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้ คือ ความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนมาก  จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้  คือ  
การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายากมีทั้งหมด 9  ขั้น  ดังนี้  
 ขั้นที่  1  สร้างความสนใจ(Gaining attention)
ขั้นที่  2  แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning) 
ขั้นที่  3  กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learned capabilities) 
ขั้นที่  4  เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus) 
ขั้นที่  5  ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ขั้นที่  6  ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance) 
ขั้นที่  7  ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback) 
ขั้นที่  8  ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance) 
ขั้นที่  9  ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)
(http://www.isu.ob.tc/5.3.html) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า โรเบิร์ต กาเย  (Robert  Gagne)  เป็นนักปรัชญาและจิตวิทยาการศึกษาชาวอเมริกา (1916-2002)   ได้เสนอแนวความคิดเกี่ยวกับการสอน คือ ทฤษฎีเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition  of  Learning) โดยทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเยจัดอยู่ในกลุ่มผสมผสาน (Gagne’s eclecticism)   ซึ่งเชื่อว่าความรู้มีหลายประเภท  บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง  บางประเภทมีความซับซ้อนจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง  ทฤษฎีการเรียนรู้ของกาเยอธิบายว่าการเรียนรู้มีองค์ประกอบ  3  ส่วน  คือ
                  หลักการและแนวคิด
                                1)  ผลการเรียนรู้หรือความสามารถด้านต่าง ๆ  ของมนุษย์   ซึ่งมีอยู่  5  ประเภท  คือ
                                - ทักษะทางปัญญา  (Intellectual  skill)  ซึ่งประกอบด้วยการจำแนกแยกแยะ  การสร้างความคิดรวบยอด   การสร้างกฎ   การสร้างกระบวนการหรือกฎชั้นสูง
                                                -  กลวิธีในการเรียนรู้ (Cognitive  strategy)
                                                -  ภาษาหรือคำพูด (verbal  information)
                                                -  ทักษะการเคลื่อนไหว (motor  skills)
                                                -  และเจตคติ (attitude)
                                2) กระบวนการเรียนรู้และจดจำของมนุษย์   มนุษย์มีกระบวนการจัดกระทำข้อมูลในสมอง   ซึ่งมนุษย์จะอาศัยข้อมูลที่สะสมไว้มาพิจารณาเลือกจัดกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง  และในขณะที่กระบวนการจัดกระทำข้อมูลภายในสมองกำลังเกิดขึ้น   เหตุการณ์ภายนอกร่างกายมนุษย์มีอิทธิพลต่อการส่งเสริมหรือการยับยั้งการ เรียนรู้ที่เกิดขึ้นภายในได้   ดังนั้นในการจัดการเรียนการสอน   กาเยจึงได้เสนอแนะว่า ควรมีการจัดสภาพการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการเรียนรู้แต่ละประเภท   ซึ่งมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน  และส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ภายในสมอง   โดยการจัดสภาพภายนอกให้เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ภายในของผู้เรียน
                ทิศนา แขมมณี (2553:72) กล่าวไว้ว่า กานเย (Gagne) เป้นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมกับพุทธินิยม (Behavior Cognitivist) เขาอาศัยทฤษฎีและหลักการที่หลากหลาย เนื่องจากความรู้ที่หลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้งบางประเภทมีความซ้ำซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูงกานเย ได้จัดขั้นกานเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก โดยผสมผสานทฤษฎีการเรียนรู้ของกลุ่มพฤติกรรมนิยม และพุทธินิยมเข้าด้วยกัน
                ทฤษฎีการเรียนรู้
                1.กานเย (Gagne) ได้จัดประเภทของการเรียนรู้เป็นลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายากไว้ 8 ประการ ดังนี้
                                1.1 การเรียนรู้สัญญาณ (signal-learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่เป็นไปโดยอัตโนมัติ อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ ผู้เรียนไม่สามารถบังคับพฤติกรรมไม่ให้เกิดขึ้นได้ การเรียนรู้แบบนี้เกิดจากการที่คนเรานำเอาลักษณะการตอบสนองที่มีอยู่แล้วมาสัมพันธ์กับสิ่งเร้าใหม่ที่มีความใกล้ชิดกับสิ่งเร้าเดิม การเรียนรู้สัญณาณ เป็นลักษณะการเรียนรู้แบบการวางเงื่อนไขของพาฟลอฟ
                                1.2 การเรียนรู้สิ่งเร้า-การตอบสนอง (stimulus-response learning) เป็นการเรียนรู้ต่อเนื่องจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง แตกต่างจากการเรียนรู้สัญญาณ เพราะผู้เรียนสามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้ ผู้เรียนแสดงพฤติกรรม เนื่องจากได้รับการเสริมแรง การเรียนรู้แบบนี้เป็นการเรียนรู้ตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ และการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (operant conditioning) ของสกินเนอร์ซึ่งเชื่อว่าการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ผู้เรียนเป็นผู้กระทำพฤติกรรมที่แสดงออกเกิดจากสิ่งเร้าภายในของผู้เรียนเอง
                                1.3 การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining ) เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองที่ต่อเนื่องกันตามลำดับ เป็นพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการกระทำ การเคลื่อนไหว
                                1.4 การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association) เป็นการเรียนรู้ในลักษณะคล้ายกับการเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษา การเรียนรู้แบบการรับสิ่งเร้า-การตอบสนอง เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้แบบต่อเนื่องและการเชื่อมโยงทางภาษา
                                1.5 การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถมองเห็นความแตกต่างของสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะความแตกต่างตามลักษณะของวัตถุ
                                1.6 การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning) เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถจัดกลุ่มสิ่งเร้าที่มีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันได้ พร้อมทั้งสามารถขยายความรู้ไปยังสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากที่เคยเห็นมาก่อนได้
                                1.7 การเรียนรู้กฎ (rule learning) เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากการรวมหรือเชื่อมโยงความคิดรวบยอดตั้งแต่สองอย่างขึ้นไป และตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น การที่ผู้เรียนสามารถเรียนรู้กฎเกณฑ์จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำการเรียนรู้นั้นไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆกันได้
                                1.8 การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving) เป็นการเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหา โดยการนำกฎเกณฑ์ต่างๆมาใช้ การเรียนรู้แบบนี้เป็นกระบวนการคิดที่เกิดภายในตัวผู้เรียน เป็นการใช้กฎเกณฑ์ในขั้นสูงเพื่อการแก้ปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และสามารถนำกฎเกณฑ์ในการแก้ปัญหานี้ไปใช้กับสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันได้
                2. กานเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ 5 ประการดังนี้
                                2.1 สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง (verbal information) เป็นความสามารถในการเรียนรู้ข้อเท็จจริงต่างๆ โดยอาศัยความจำและความสามารถระลึกได้
                                2.2 ทักษะเชาว์ปัญญา (intellectual skills) หรือทักษะทางสติปัญญา เป็นความสามารถในการใช้สมองคิดหาเหตุผล โดยใช้ข้อมูล ประสบการณ์ ความรู้ ความคิดในด้านต่างๆนับตั้งแต่การเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นทักษะง่ายๆไปสู่ทักษะที่ยากสลับซับซ้อนมากขึ้น ทักษะเชาว์ปัญญาที่สำคัญที่ควรได้รับการฝึกคือ ความสามารถในการจำแนก (discrimintion) ความสามารถในการคิดรวบยอดเป็นรูปธรรม (concrete concept) ความสามารถในการให้คำจำกัดความของความคิดรวบยอด (defined concept) ความสามารถในการเข้าใจกฎและใช้กฎ (rules) และความสามารถในการแก้ปัญหา (problem solving)         
                                2.3 ยุทธศาสตร์ในการคิด ( cognitive strategies) เป้นความสามารถของกระบวนการทำงานภายในสมองของมนุษย์ ซึ่งควบคุมการเรียนรู้ การเลือกรับรู้ การแปลความ และการดึงความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมออกมาใช้ ผู้มียุทธศาสตร์ในการคิดสูงจะ มีเทคนิค มีเคล็ดลับในการเรียนรู้ ความจำ ความเข้าใจ และประสบการณ์เดิมที่สะสมเอาไว้ออกมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาที่มีสถานการณ์ที่แตกต่างกันได้อย่างดี รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์
                                2.4 ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) เป็นความสามารถ ความชำนาญในการปฎิบัติหรือการใช้อวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายในการทำกิจกรรมต่างๆผู้ที่มีทักษะการเคลื่อนไหวที่ดีนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกมาจะมีลักษณะรวดเร็ว คล่องแคล่ว และถูกต้องเหมาะสม
                                2.5 เจตคติ ( attitudes) เป็นความรู้สึกนึกคิดของบุคคลที่มีต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจของบุคคลนั้นในการที่จะเลือกกระทำหรือไม่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
                กล่าวโดยสรุป “ ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย ”  การจัดการเรียนรู้แบบเป็นขั้นตอนโดยเริ่มจากเรื่องง่ายๆไปสู่เรื่องที่ยากยิ่งขึ้น นักจิตวิทยาและนักการศึกษาแบบพฤติกรรมนิยมกับพุทธินิยม  เขาอาศัยทฤษฎีที่หลากหลาย จากความรู้ที่มีหลากหลายประเภท สามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ่ง ใช้การเรียนรู้จากง่ายไปหายาก  ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีทฤษฎีใหม่ ๆ ขึ้นมามากแต่ก็ได้ผสมผสานการเรียนรู้ ในการแสวงหาความรู้ของมนุษย์  ไม่ได้ ละทิ้งความรู้เก่า ๆ ไปเสียที่เดียว


เอกสารอ้างอิง
ทิศนา  แขมมณี (2553) .ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
                                จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ
http://www.novabizz.com/Learning_Cognitive.htm      เข้าถึงเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน   2554
http://www.isu.ob.tc/5.3.html     เข้าถึงเมื่อวันที่  27  มิถุนายน  2554

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น